ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคฟันผุ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
โรคเบาหวานส่งผลต่อปัญหาสุขภาพช่องปาก การศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคฟันผุสามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการ เกิดโรคฟันผุในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วัตถุประสงค์การศึกษา ครั้งนี้ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคฟันผุของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการ ศึกษา การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น จำนวน 338 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในโรงพยาบาลขอนแก่น และสถานบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในระหว่าง วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยใช้แบบ ตรวจสุขภาพช่องปาก แบบสัมภาษณ์ และเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติ Chi-square ที่ระดับนัย สำคัญ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ 338 คน เพศหญิง ร้อยละ 59.5 อายุ 35 – 83 ปี อายุเฉลี่ย 50.5 + 10.8 ปี (ค่าเฉลี่ย + ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ความชุกของการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 63.3 ค่าดัชนีฟันแท้ผุ ถอน อุด (DMFT) 6.5 ซี่/คน ความชุกของฟันผุรากฟัน ร้อยละ 13.0 ค่าดัชนีรากฟันผุ อุด (RCI) 0.3 ราก/คน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคฟันผุที่ตัวฟันกับ ปัจจัยต่างๆ พบว่า อายุ ที่อยู่ การมาบริการทันตกรรม การขูดหินน้ำลาย และ การไม่มีความผิดปกติในช่องปาก มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุที่ตัวฟัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดฟันผุ รากฟัน พบว่า การตรวจสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟัน ผุรากฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุ มากกว่า 60 ปี ขึ้นไป และอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลมีแนวโน้มของการเกิด โรคฟันผุเพิ่มขึ้น
References
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.สรุปรายงานการป่วย ปี 2552. [ออนไลน์] 2552 [อ้างเมื่อ 13 กันยายน 2554] จาก http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/illness/1.ต้นฉบับ2552.pdf
3. Banting WD. The Diagnosis of Root Caries [serial online]. Journal of Dental Education 2005; 65(10):991.
4. Beighton D, Lynch E, Heath MR. A Microbiological Study of Primary Root-caries Lesions with Difference Treatment Needs[serail online]. J DENT RES;1993:72:62.
5. Hintao J, Teanpaisan R, Chongsuvivatwong V, Dahlen G, Rattarasarn C. Root surface and coronal caries in adults with type 2 diabetes mellitus. Community Dentistry and Oral Epidemiology [serial online] 2007; 35: 302–9.
6. Taylor GW.Bidirectional interrelationships between diabetes and periodontal disease: An Epidemiologic perspective [serial online]. Ann. Periodontol 2001;6:99-112.
7. Likitmashul S, Kiattisathavee P, Chaichanwatanakul K, Punnakanta L, Angsusingha K, Tuchinda C. Increasing prevalence of type 2 diabetes mellitus in Thai children and adolescent associated with increasing prevalence of obesity[serial online]. J Pediatr Endocrinol Metab 2003;16:71-7.
8. Lwanga SK, Lemeshow S. Sample size estimation in health studies: a practical manual. World Health Organization: Geneva;1991.
9. ขจร กังสดาลภิภพ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรค ปริทันต์อักเสบกับระดับน้ำตาลในเลือดผู้สูงอายุของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2545.
10. World health organization. Oral health surveys – Basic methods. 4th ed. Geneva WHO;1997:36–48.
11. Narumol Srisaphum and Surasak Taneepanichskul. Oral health status in diabetic patients at Changhan districts [Serial online]. J Health Res 2010; 24(Suppl.1):45–50.
12. Ship JA. Diabetes and Oral health. Journal American Dental Association 2003;134:4S-10S.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล