ประสิทธิผลการดำเนินงานช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการ ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ลอศิริกุล มหาบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น
  • ชนะพล ศรีฤๅชา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารงาน สาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลการดำเนินงานช่วยเหลือเบื้องต้น มาตรการและปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ พ.ศ.2545 จังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลที่ยื่นคำร้องขอรับการช่วย เหลือเบื้องต้นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2554 จำนวน 35 คน รวม ทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ได้รับความเสียหาย จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ให้บริการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้น รวม 10 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาเกิดเหตุความเสียหายที่โรงพยาบาล ชุมชน ร้อยละ 71.4 ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยด้าน สูตินรีเวชกรรม ร้อยละ 48.6 ได้รับความเสียหายถึงขั้นเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรมากที่สุด ร้อยละ 51.4 คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องภายใน 30 วัน หลังรับคำร้อง ร้อยละ 88.6 พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ร้อยละ 71.4 จ่ายเงินให้แก่ผู้ได้รับความ เสียหาย รวมทั้งสิ้น 3,115,000 บาท (สามล้านหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ถ้วน) เฉลี่ยคนละ 124,600 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นสี่พันหกร้อยบาทถ้วน) ผู้เสียหายได้รับทราบผลการพิจารณาภายใน 14 วัน ร้อยละ 85.7 ผู้เสียหาย ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นภายใน 60 วันหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา คำร้องมากที่สุด ร้อยละ 88.0

References

1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักประกันความเสมอภาค และคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ;2550.

2. วิรุฬ ลิ้มสวาท และ วิสุทธิ บุญญะโสภิต. เส้นทางสู่ความสมานฉันท์ในระบบหลักประกันสุขภาพ. กรุงเทพฯ : นิวพลัส;2552.

3. หทัยชนก สุมาลี. แนวทางการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ให้และผู้รับบริการจากการบริการ ทางการแพทย์ วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2552.

4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักประกันความเสมอภาค และคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ;2551.

5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักประกันความเสมอภาค และคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ;2553.

6. ยุพา วงศ์ไชย และคณะ. การคุ้มครองผู้บริโภคในระบบหลักประกันสุขภาพที่เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;2551.

7. ยุพดี ศิริสินสุข. การคุ้มครองผู้บริโภคในระบบประกันสุขภาพไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;2549.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)