ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษา ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ความสามารถตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม, โรคฟันผุ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับ สนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียน ประถมศึกษาตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่ม ตัวอย่างได้แก่นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตำบลบัวน้อย เลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ได้กลุ่มตัวอย่าง 73 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง 40 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมตาม ที่กำหนดเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการ ทดลองโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมาน ใช้ Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่อง โรคฟันผุ มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ความคาด หวังในผลดีของการป้องกันโรคฟันผุ การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฟันผุสูง กว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (P-value<0.001) และยังพบว่าปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ของ กลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value<0.001) จากการจัดโปรแกรม ทันตสุขศึกษา โดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรง สนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคฟันผุ ทำให้ นักเรียนเอาใจใส่ดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและมีการปฏิบัติตัวในทาง ที่ดีขึ้น
โดยสรุป ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมในการ ทดลองทำให้นักเรียนมีการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค ฟันผุด้วยตัวเองได้ดีขึ้นจึงควรนำไปประยุกต์ใช้กับ โรงเรียนที่มีลักษณะปัญหาทางทันตสุขภาพที่ใกล้เคียง กันหรือประยุกต์ใช้กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และปัญหาสาธารณสุขด้านอื่นๆ
References
2. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.
3. สรุปผลการประเมินงานทันตสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษประจำปี พ.ศ. 2553. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ;2553.
4. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษประจำปี พ.ศ. 2553. กันทรารมย์ : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรารมย์;2553.
5. สุกัญญา แซ่ลี้. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนประถมศึกษา ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.
6. อรกัญญา บัวพัฒน์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรม การแปรงฟันอย่างถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.
7. สาวิตรี แถมเกษม. ผลของการพัฒนาพฤติกรรมทันตสุขภาพโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอวังนํ้าเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2552.
8. ประพิณทิพย์ หมื่นน้อย. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล