ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรม เพื่อป้องกันอาการปวดหลังในนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วีระชาติ ยุทธชาวิทย์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

อาการปวดหลัง, พฤติกรรมการป้องกัน, ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

          อาการปวดหลังเป็นโรคที่พบบ่อยจากการทำงาน ส่งผลทำให้ผู้มี อาการปวดหลังทำงานไม่มีประสิทธิ ผลเท่าที่ควร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการพัฒนา พฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการปวดหลังในนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณ สุข สิรินธร จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2554 จำนวน 52 คน กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเรื่องอาการปวดหลังและการป้องกัน การอภิปรายสาเหตุและการป้องกันการปวดหลัง การสาธิตแลฝึกปฏิบัติงาน คลินิกทันตกรรมที่ถูกต้อง การสาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายเพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การกระตุ้นเตือน ฯลฯ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบ เทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนน วิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired t-test กำหนด ระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

          ผลการวิเคราะห์พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนน การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง มากกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value < .05) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้ การรับรู้ความรุนแรงของอาการปวดหลัง และการรับรู้ผลดีของการ ป้องกันเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 

References

1. World Health Organization [WHO]. Comparative risk analysis of the contribution of occupational risk factors to the global burden of disease [online] 2003 [cited 2 2012] Available from: http://www.who.int/occupational_health/topics/.

2. เจริญ โชติกวณิชย์. หลายคำถามที่เกี่ยวกับอาการปวดหลัง. [ออนไลน์] 2552 [อ้างเมื่อ 12 กรกฎาคม 2552] จาก http://www.si.mahidol.ac.th/department/orthopedic/.

3. World Health Organization [WHO]. The World Health Report “ Chapter 4 Selected occupational risks. [online] 2012 [cited 2 2012]. Available from: http://www.who.int/occupational_health/

4. Finsen L, Christensen H, Bakke M. Musculoskeletal disorders among dentists and variation in dental work. Appl Ergon; 1998;29:119-25.

5. Dajpratham P, Ploypetch T, Kiattavorncharoen S, Boonsiriseth K. Prevalence and Associated Factors of Musculoskeletal Pain among the Dental Personnel in a dental school. J Med Assoc Thai 2010; 93 (6): 714-21.

6. อภิญญา ยุทธชาวิทย์ และวีระชาติ ยุทธชาวิทย์ . ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. ว.ทันตาภิบาล; 2554;22(2):16-21.

7. Roesenstock M. Irwim. Historical origins of Health belief model. Health Education monographs 1974;2 (4)

8. อรุณีย์ ศรีนวล.การประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ใน การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.

9, ประพนธ์ บุญไชย. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุข ภาพ และ การสนับสนุนทางในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วย เอดส์ ที่รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.

10. องค์อร ประจันทเขต. ผลของการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการให้ปรึกษาเพื่อเสริมสร้างการ รับประทานยาต้านไวรัสสม่ำเสมอ โรงพยาบาลบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการพยาบาลชุมชน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2551.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)