การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังทันตสุขภาพนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนบ้านอีเซ (คุรุราษฎร์วิทยา) ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ วรเลิศ
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์
  • สุรพร ลอยหา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเฝ้าระวังทันตสุขภาพ, โรงเรียนประถมศึกษา, primary school

บทคัดย่อ

          สุขภาพปากและฟันเป็นส่วนสำคัญของสุขภาพเด็กนักเรียน ดังนั้นการหารูปแบบการดูแลสุขภาพ    ช่องปากสำหรับเด็กนักเรียนเป็นวิธีการที่สำคัญ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้านอีเซ (คุรุราษฎร์วิทยา) ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัย 69 คน ที่จะมีส่วนร่วมในการวิจัยอยู่ 3 ขั้นตอนคือ 1) ค้นหาปัญหาของระบบเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก 2) การดำเนินการเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก และ 3) การประเมิน ผลโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินมาตรฐานอยู่ในค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81, 0.82, 0.80 และ 0.75 ตามลำดับ แบบบันทึกแผ่นคราบจุลินทรีย์ รวมทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต นอกจากนี้สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired-samples t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า  ภายหลังการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังทันตสุขภาพ  นักเรียนมีการปฏิบัติตนในการดูแลด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 100 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 78) มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 80.5) มีความคาดหวังต่อรูปแบบการเฝ้าระวังทันตสุขภาพที่จะส่งผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ97.6) ปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเล็กน้อย (ร้อยละ 92.7) ซึ่งการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังทันตสุขภาพนักเรียนประถมศึกษาในด้านการปฏิบัติและวิธีการดูแลคราบจุลินทรีย์มีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า มีการดำเนินงานภายใต้องค์ประกอบ 2CAGIP ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ สถาบันศึกษา และผู้ปกครอง

              โดยสรุป รูปแบบการเฝ้าระวังทันตสุขภาพนักเรียนประถมศึกษา ส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปาก และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพช่องปากดีขึ้น โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การสร้างแนวปฏิบัติการดูแลทันตสุขภาพในโรงเรียน และการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน

References

1. กมลทิพย์ สุขสันติสกุลชัย และคณะ. เอกสารประกอบการสอนวิชาทันตกรรมป้องกัน ครั้งที่ 5. ขอนแก่น:โครงการตำรา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2551.

2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555. โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก;2555.

3. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอีเซ. ข้อมูลการตรวจสุขภาวะช่องปากนักเรียนประถมศึกษา. ศรีสะเกษ;2555.

4. วิมลสิริ พรหมมูล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้านปราสาท ตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

5. ศรีไศล เกษศิริโยธิน. การพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพ โรงเรียนบ้านโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2551.

6. เสมอจิต พิธพรชัยกุล. การวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อการเรียนรู้การดำเนินงานทันตกรรมป้องกันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดสงขลา. (รายงานวิจัย) สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)