พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่มีผลต่อฟันกรามแท้ซี่แรกผุ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ฟันกรามแท้ซี่แรก, ผู้ปกครอง, พฤติกรรมของผู้ปกครองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง(Cross-sectional Analytic Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ปกครองที่มีผลต่อฟันกรามแท้ซี่แรกผุ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นผู้ปกครอง และนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 334 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้ปกครองของเด็ก และตรวจสภาวะฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่1 ในเด็ก ทำการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมกราคม 2557 – มีนาคม 2557 สถิติที่ใช้ในการศึกษา สถิติเชิงพรรณนานำเสนอเป็นค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด สูงสุด การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว ใช้สถิติ simple logistic regression หาขนาดความสัมพันธ์ใช้ Odds ratio (OR)หลังจากการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว ตัวแปรที่มีค่า P-value < 0.25 นำมาวิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุถดถอยลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR (ORadj) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95% โดยใช้โปรแกรม STATA version. 10
ผลการศึกษา พบว่าเด็ก มีฟันกรามแท้ซี่แรกผุ ร้อยละ 43.7 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดเท่ากับ0.8 (SD = 1.2)ซี่ต่อคน เด็กที่ผู้ปกครองจบการศึกษาสูงสุดชั้นประถมศึกษามีโอกาสเกิดโรคฟันผุเป็น2.09 เท่า (95%CI ; 1.28 – 3.41)ของเด็กที่ผู้ปกครองจบสูงกว่าชั้นประถมศึกษา ด้านการดูแลทันตสุขภาพพบว่าเด็กที่เคยได้รับการถอนฟันเนื่องจากฟันน้ำนมผุ มีโอกาสเกิดโรคฟันผุเป็น2.18 เท่า (95%; 1.37 – 3.46)ของเด็กที่ไม่เคยได้รับการถอนฟันส่วนด้านการดูแลการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม พบว่าเด็กที่ไม่ดื่มนมรสจืดหรือนมรสธรรมชาติมีโอกาสฟันกรามแท้ซี่แรกผุเป็น 0.39 เท่า (95%CI ; 0.19 – 0.84) ของเด็กที่ดื่ม
ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ยังเล็ก นอกจากนั้นหลังรับประทานอาหารกลางวัน และดื่มนมที่โรงเรียน ครูควรดูแลให้เด็กได้แปรงฟันที่โรงเรียนเป็นประจำทุกวันและสม่ำเสมอ
References
2.Mohammadi TM, Kay EJ. Effect of Dental Caries on Children Growth.Contemporary Approach to Dental Caries 2012; 379-94.
3.ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2553.
4.นิรุวรรณเทิร์นโบล์. ทันตสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา;2555.
5.Beauchamp J., Caufield PW, Crall JJ, Donly K,Feigal R, Gooch B, et al. Evidence-based clinical recommendations for the use of pitand-fissure sealants: a report of the American Dental Association Council on Scientific Affairs.J Am Dent Assoc.2008;139:257-68.
6.นุชนารถ เปล่งศรีงาม, สร้อยสน ธาราสมบัติ. ประสิทธิผลการเคลือบหลุมร่องฟันในโครงการยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2557; 23(1):91-8.
7. วราภรณ์ จิระพงษา, ศิริเพ็ญ อรุณประพันธ์, สุนีย์ วงคงคาเทพ, ปิยะดา ประเสริฐสม. คู่มือการดำเนินงานโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2548.กรุงเทพมหานคร: ออนพริ้นชอพ;2548.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ปี 2555 จังหวัดมหาสารคาม[ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม;2555.
9. งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากนักเรียนประถมศึกษา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม[ไม่ได้ตีพิมพ์]. พยัคฆภูมิพิสัย: มหาสารคาม;2555.
10. วิภาพรล้อมสิริอุดม, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. ความเชื่อและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551; 31(1):69-86.
11. Lwanga SK, Lemeshow S. Sample Size Determination in Health Studies: A Practical Manual. World Health Organization: Geneva;1991.
12. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of simple size calculation for linear and logistic regression.Statistics in Medicine 1998; 17(14):1623-34.
13. Dukic W, Delija B, LulicDukic O.Caries prevalence among schoolchildren in Zagreb, Croatia. Croat Med J. 2011 Dec 15;52(6):665-71.
14. Wang JD, Chen X, Frencken J, Du MQ, Chen Z. Dental caries and first permanent molar pit and fissuremorphology in 7- to 8-year-old children in Wuhan, China. International Journal of Oral Science.2012; 4:157–60.
15.อโนมา รัตนะเจริญธรรม. ความสัมพันธ์ของการผุในฟันน้ำนมก่อนอายุ 4 ปีกับการผุด้านบดเคี้ยวของฟันกรามถาวรซี่แรก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2543.
16.Li Y, Wang W. Predicting caries in permanent teeth from caries in primary teeth. J Dent Res.2002 Aus; 81(8) : 561-6.
17.สุนีย์ วงศ์คงคาเทพ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดฟันผุของเด็กไทย อายุ 3-5 ปี เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ยากจน และไม่ยากจน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2555; 17(1):60–78.
18.ฐิตินันท์สุคนธ์ฤทธิกร. ผลของเครื่องดื่มชนิดต่างๆที่ดื่มหลังการรับประทานขนมแป้งอบกรอบเคลือบน้ำตาลต่อความเป็นกรดด่างของคราบจุลินทรีย์.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2547.
19. Grenby T.H, Andrews A.T, Mistry M, Williums R.J.H. Dental caries protective agents in milk and milk product: investigations in vitro. Journal of Dentistry. 2002 Feb; 29(2): 83-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล