ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุวัยกลาง ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุนทรียพันธ์ อ่อนสีแดง
  • ดร.จตุพร เหลืองอุบล
  • รณรุทธ์ บุตรแสนคม

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, การป้องกันโรคเรื้อรัง, ผู้สูงอายุวัยกลาง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุวัยกลาง ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 70 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม

การส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุวัยกลางด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการให้ความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ โดยการแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้การติดตามเยี่ยมของทีมเครือข่ายสุขภาพตำบล และการสนับสนุนทางสังคมโดย “บุคคลต้นแบบ

สุขภาพดี ชีวิตยืนยาว” และ “ดีเจวัยใส ใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ” เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มวิเคราะห์ด้วยสถิติPaired Sample t – test และระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent Sample t-test

                 จากผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง เกี่ยวกับการบริโภคอาหารการออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์มากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value <0.001)

                 การวิจัยครั้งนี้พบว่า โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุวัยกลาง ทำให้ผู้สูงอายุวัยกลางมีความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเองและการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองสามารถป้องกันโรคเรื้อรังได้ดีขึ้น ซึ่งโปรแกรมนี้มีประสิทธิผลเพียงพอที่จะนำไปพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุวัยกลางต่อไป

References

1. สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555–2559;2554.

2.สำนักนโยบายและยุทธ์ศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข[ออนไลน์] 2556.[อ้างอิงเมื่อ 9 สิงหาคม 2556] จาก : https://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5

3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจานเตย.ทะเบียนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตำบลทุ่งกุลาอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด; 2555.

4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจานเตย.แบบสำรวจพฤติกรรมสุขภาพประชากรอายุ15 ปีขึ้นไป ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด;2556.

5. ธนกฤต เสนานอก. ผลของการประยุกต์ความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการกลุ่มและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ของกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์.[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2553.

6. ทองออน ศรีสุข. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของชายวัยทอง อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

7. เบญจมาศ นาควิจิตร. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสังกัด สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ศรีนครินทรวิโรฒ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)