พฤติกรรมการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, ความคาดหวังในผลลัพธ์, ทันตสาธารณสุขในชุมชน, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษา 2) ศึกษาการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชน และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชน 3) ศึกษาแรงสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มเพื่อน และอาจารย์ ในการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการรับรู้ความสามารถแห่งตน, ความคาดหวังในผลลัพธ์และแรงสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มเพื่อน และอาจารย์ ในการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนกับพฤติกรรมการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษา ดำเนินการวิจัยในกลุ่มประชากรที่เป็นนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) ชั้นปีที่ 3 ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 55 คน วิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (m) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และค่าสถิติสหสัมพันธ์ของเพียรสัน(Pearson’ s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (m = 1.43,s = 0.32) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (m = 3.37, s = 0.41) ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (m = 3.40, s = 0.45) นักศึกษาได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มเพื่อน และอาจารย์ ในการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (m = 2.45,s = 0.44) โดยนักศึกษาได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มเพื่อน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (m = 2.33,s = 0.50) และแรงสนับสนุนทางสังคมจากอาจารย์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (m = 2.57,s = 0.50) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ พบว่าการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษา ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษา และแรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษามีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมจากอาจารย์ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของนักศึกษากัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ชั้นสูงสาธารณสุขศาตร์(สาธารณสุขชุมชน) ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : สถาบันพระบรมราชชนก;2550.
2 วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : กองการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ;2538.
3. จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์ เพ็ญนภา วิชกูล และ อารีรัตน์ วิเชียรประภา. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับ
พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ด้านสุขภาพในระยะคลอดของมารดาครรภ์แรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2554, กันยายน 2553 - กุมภาพันธ์ 2554;22(1):28-37.
4. Bandura A. Social Foundation of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice-Hall;1986.
5. สุพรรณีกัณหดิลก. ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรม การปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในระยะ
ตั้งครรภ์ของ มารดาวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลครอบครัว,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2542.
6. เอมอร สายะเสวี. ความคาดหวังของพนักงานที่มีต่อกระบวนการบริหารงาน: บริษัท ส. ธนภัทร เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด .
ปัญหาพิเศษ สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทั่วไป);2548.
7. Cohen, S., & Syme, S. L. Social support and health. Orlando, FL: Academic Press; 1985.
8. Thoits P. A. Conceptual, methodological, and theoretical problems in studying social support as a
buffer against life stress. Journal of Health and Social Behavior, 1982, 23; 145-9.
9. เสาวนีย์ วรรลออ, พรทิพย์ มาลาธรรม และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ . แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ
ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ Rama Nurse Journal, 2012. September - December; 372-388.
10. ลักษมี สุดดี และยุพิน อังสุ. แรงจูงใจในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม ความยึดมั่น ผูกพันต่อองค์การ กับความสุขในการทำงาน ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง. วารสารเกื้อการุณย์, 2555 , กรกฎาคม-ธันวาคม ,
19(2); 42-59.
11.จันทร สังข์สุวรรณ. การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในสถานีอนามัย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พบาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการพยาบาล). กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล;2538.
12. บัญชร แก้วส่อง และคณะ. วิจัยการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้พัฒนารูปแบบการประสานความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยและพื้นที่. ขอนแก่น : วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;2535.
13. วาสนา อูปป้อ, ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา และ ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังผลลัพธ์ใน
การทำวิจัยกับผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วาสารการพยาบาลและการศึกษา , 2552, มกราคม-เมษายน ;2(1):29-35.
14. บุญมี ยุติธรรม, รุ่งเรื่อง เด่นดวงใจ และประภา วุฒิคุณ. ประสิทธิผลในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกขอแกนนำ
สุขภาพประจำครอบครัว จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี;2544.
15. พรทิพย์ มาลาธรรม, จิราพร คงเอี่ยม และประคอง อินทรสมบัติ. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรง
สนับสนุนจาก เพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท. Rama Nurse Journal 2009, Vol. 15 September - December; 431-448.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล