การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก โดยผู้ปกครอง บ้านหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ระบบการดูแลสุขภาพช่องปาก, การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, เด็กเล็ก, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก โดยผู้ปกครอง โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) ในการกำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามด้านความรู้ การดูแลสุขภาพช่องปากและความพึงพอใจในการดำเนินงานของผู้ปกครอง แบบสำรวจสภาวะฟันน้ำนมผุ แบบสังเกต และแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยการทดสอบ Pair sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการพัฒนาครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์ปัญหา 2) การประชุมวางแผนแก้ไขปัญหา 3) การดำเนินการตามแผน 4) การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก 3 ระดับ 5) ตรวจสุขภาพช่องปากซ้ำเพื่อติดตามการรักษา 6) สรุปและประเมินผล นอกจากนั้นยังพบว่าผลลัพธ์เชิงปริมาณในกระบวนการนี้ส่งผลให้ความรู้ การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก ความพึงพอใจในการดำเนินงานของผู้ปกครอง และสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนดำเนินการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาครั้งนี้ จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วม(participation) ในทุกขั้นตอน โดยใช้ภาคีเครือข่าย(partnership) ในชุมชนเป็นกลไกเชื่อมโยงการปฏิบัติงานกับคนในชุมชน เกิดการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพช่องปากในชุมชนอย่างต่อเนื่อง(continuity) เรียกว่า PPC-Model ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินการที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เกิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนมากขึ้น
References
2. สิรินันท์ ตั้งอยู่สุข. การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2555.
3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2550.
4. สายรุ้ง วงศ์ศิริ. พฤติกรรมการช่วยดูแลทันตสุขภาพช่องปากของมารดาที่มีผลต่อภาวะฟันผุในเด็กอายุ 5 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา;2553.
5. กัลยา อินวาทย์. การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าคา อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2552.
6. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.. ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555. [ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ 13 มิถุนายน 2556]. ได้จาก: http://www.anamai.ecgates.com/
7. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพและทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. สรุปผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพตามกล่มอายุ 18-24 เดือน 3,12 และ 60 ปี จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2555. [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 22 สิงหาคม 2556]. ได้จาก: http://203.157.162.13/
8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินเหล็กไฟ. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2556.งานข้อมูลและสารสนเทศ. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินเหล็กไฟ;2556.
9. สุวิมล ว่องวานิช. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ, อักษรไทย;2544.
10. ทัศนีย์ ธรรมเริง. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.
11. ชนัญธวีร์ ฐิตวัฒนานนท์. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการ AIC: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา;2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล