ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้พิการ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชฎารัตน์ ธรฤทธิ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ชนม์ปภา ราชสมบัติ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เปรมฤดี ศรีสังข์ นักวิชาการสาธารณสุข ภาควิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ชีวานันท์ บุญอยู่ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้พิการ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง ( Cross sectional survey)มีวัตถุประสงค์      (1) เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพช่องปาก ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้พิการ (2)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้พิการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนที่ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลบัวใหญ่ ประจำปี 2557 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 117 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด  ใช้สถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman’s rank order correlation) และการทดสอบของฟิชเชอร์ (Fisher exact test)

          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้พิการ ได้แก่ อายุ (r = -0.21; 95 % CI: -0.188 ถึง -0.023; p-value = 0.019)สถานภาพสมรส(r = 0.26 ; 9 % CI: - 0.32 ถึง 6.40; p-value = 0.004) ทัศนคติ (r =0 .29; 95 % CI: 0.05 ถึง 0.62; p-value = 0 .001) การรับรู้ (r = 0.36;95 % CI: 0.06 ถึง 0.83; p-value = 0.001) การได้รับข้อมูลข่าวสาร (r = 0.26; 95 % CI: 1.18 ถึง 11.00; p-value =0.004) การได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r =0.23;   95 % CI: -0.18 ถึง 0.40; p-value =0.01) สภาวะฟันผุ ถอน อุด(r=-0.195; 95 % CI: -0.53 ถึง -0.9;  p-value= 0.035) การมีหินน้ำลายบนตัวฟัน (OR = 9.459 % CI of OR: 0.55 ถึง161.92, p-value=0.009) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. มยุรี ผิวสุวรรณ,ดารณี สุวพันธ,วิไลภรณ์ โคตรบึงแกม และคณะ.CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย.ประเทศมอลตา:พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส;2556.

2. แผนงานติดตามสถานการณ์ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ (Health Equity Monitoring Project) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข.รายงานฉบับสมบูรณ์สถานการณ์คนพิการในสังคมไทย: การวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจความพิการและทุพพลภาพของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2545 และ 2550.นนทบุรี: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ;2556.

3. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.การดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ เดือนพฤษภาคม 2557. [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 9 มิถุนายน 2557] จาก http://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=11771

4. รายงานประเภทความพิการศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลบัวใหญ่;2557.

5. นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์.แผนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้พิการ.[ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 16 มิถุนายน 2557] จาก http://www.healthyability.com/loadfile/16_%286_2554%29_3.2.pdf

6. ประไพจิตร ชุมแวงวาปี. สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่5 .ขอนแก่น: โครงการตำราวิทยาลัยการสาธารสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2553.

7. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์;2552.

8. Sharon L Naismith, Wendy A Longley, Elizabeth M Scott, and Ian B Hickie. Disability in major depression related to self-rated and objectively-measured cognitive deficits: a preliminary study. BMC Psychiatry 2007. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1959228/

9. นันทรัตน์ ภู่ประดิษฐ์.การดูแลตนเองและการดูแลทารกแรกเกิดของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการพยาบาลบิดามารดาและเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2541.

10. เพชร์ชรินทร์ ตันคงจำรัสกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้พิการ: กรณีศึกษาเขตเทศบาลเมืองพิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. สารนิพนธ์สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร;2552.

11. เฉลิม รัตนะโสภา.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้พิการจังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี;2553.

12. วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ.รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปาก สำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยิน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2543.

13. นราทิพย์ ไชยยา. การดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้พิการเขตเทศบาลยางเนิ้ง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)