การวิจัยประเมินผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาจารย์ชำนาญการ,วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • พิทยา ศรีเมือง วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ประไพจิตร ชุมแวงวาปี วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เศรษฐพงศ์ จ่าตา นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของผู้เข้ารับการอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาจากผู้เข้าอบรมหรือทีมผู้เรียนในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ จำนวน  6  อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอสามชัย อำเภอคำม่วง และอำเภอร่องคำ  จำนวนทั้งสิ้น 50 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยการคัดเลือกตามคุณสมบัติ (Criteria) ของคณะทำงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System: DHS)  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงประมาณโดยใช้แบบประเมินตนเองด้านสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ  โดยการหา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี Content analysis

          ผลการวิจัยพบว่า   ตลอดระยะเวลาการอบรม 5 ครั้ง ใน 1 ปี ทีมผู้เรียนทั้ง 6  อำเภอสามารถพัฒนาโครงการในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพในอำเภอของตนเองอำเภอละ  1 โครงการ   ผลการประเมินสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ ทั้งสมรรถนะหลักและสมรรถนะเงา จำนวน 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ประเมินในการอบรมครั้งที่ 1  ส่วนครั้งที่ 2 ประเมินในการอบรมครั้งที่ 3 และประเมินครั้งสุดท้ายในการอบรมครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายเช่นเดียวกัน ในภาพรวม พบว่า  ครั้งที่ 1  ทีมผู้เรียนมีคะแนนสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.66  คะแนน (S.D. = 0.45) ส่วนครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 อยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยสมรรถนะเท่ากับ  3.90  คะแนน (S.D. = 0.29)  และ  4.08  คะแนน (S.D. = 0.37) ตามลำดับ

            สรุปได้ว่าโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  ดังนั้น ควรขยายพื้นที่และพัฒนาเครือข่าย (Network) การทำงานในการบริหารการจัดการระบบสุขภาพอำเภอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทีมผู้เรียนภายในอำเภอและทีมระหว่างอำเภอ

References

1. Aragon,AO. A case for surfacing theories of change for purposeful organizational capacity development, IDS Bulletin. 2010. 41(31):36-46.

2. Tyler, R.W. Evaluation acting program. Boston Allin and Bacon;1986.

3. ยงยุทธ พงษ์สุภาพ. การจัดการเรียนเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ. APPA Prienting Group CO., LTD.;2557.

4. Best, John w. Research in Education. 3rd .ed., Englewood Cliffs, New Jersey, Prentice-Hall, Inc.;1977.

5. Elo, S., & Kyngas, H. The qualitative content analysis process. Journal of Advanced Nursing 2007, 62(1), 107–115.

6. World Health Organization. Everybody’s business; Strengthening health system to improve health outcomes: Geneva;2007.

7. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด;2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)