ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วีระชาติ ยุทธชาวิทย์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ความฉลาดทางอารมณ์ด้านต่างๆของวัยรุ่น 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่น  กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่นที่มีอายุระหว่าง 18-22ปี กำลังศึกษาในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) ชั้นปีที่ 1-4  ปีการศึกษา 2557   จำนวน 186 คน การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล เชิงพรรณนาด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความสัมพันธ์ด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

           ผลการวิจัยสรุปว่า กลุ่มตัวอย่าง มีทัศนคติต่อเรื่องเพศดี  มีการรับรู้ทางสังคม  การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีสภาพแวดล้อมทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง  มีการขัดเกลาทางสังคมอยู่ในระดับเป็นจริงอย่างมาก  มีความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นโดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการตระหนักรู้ตนเอง ด้านการบริหารจัดการกับอารมณ์ตนเอง ด้านการจูงใจตนเอง ด้านการหยั่งรู้อารมณ์ของผู้อื่น ด้านการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่น พบว่า ลำดับที่ของการเกิด มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบในระดับต่ำกับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\gammas= -0.169, p-value= 0.021) และการใช้ชีวิตในวัยรุ่นด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับต่ำกับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\gammas= 0.207, p-value= 0.005) ลำดับที่ของการเกิด มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบในระดับต่ำกับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นด้านการตระหนักรู้ตนเอง และด้านการหยั่งรู้อารมณ์ของผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\gammas= -0.169, p-value= 0.021) อายุ และการใช้ชีวิตในวัยรุ่นด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับต่ำกับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นในด้านการบริหารจัดการกับอารมณ์ตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\gammas= 0.157, p-value= 0.032) และ(gif.latex?\gammas = 0.168, p-value= 0.022) ตามลำดับ การใช้ชีวิตในวัยรุ่นด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับต่ำกับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นด้านการจูงใจตนเอง และด้านการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\gammas= 0.171, p-value= 0.020) และ (gif.latex?\gammas= 0.204, p-value= 0.005)  ตามลำดับ การใช้ชีวิตในวัยรุ่นด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับต่ำกับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่นด้านการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\gammas= 0.168, p-value= 0.022)

References

1. กุญชรี ค้าขาย. จิตวิทยาแนะแนวเด็กวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: คณะคุรุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา;2540.

2. เทอดศักดิ์ เดชคง. ความฉลาดเฉลียวทางอารมณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิฆเนศพริ้นติ้ง;2543.

3. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554.
4. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. เชาวน์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุข และความสำเร็จ ของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพิมพ์ เอ็กซ์เปอร์เน็ต;2542.

5. บุรทัต บัณฑิตวงษ์. ทักษะทางอารมณ์กับชีวิตวัยรุ่น: กรณีศึกษา สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2547.
6. ชม ภูมิภาค. การศึกษาทัศนคติทางการเมืองของผู้รับฟังข่าวสารสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2538.

7. ไพบูลย์ อ้างโดยวีระพลและเฉลียว. ทัศนคติ.[ออนไลน์] 2558 [อ้างเมื่อ 8 มกราคม 2558 ] จาก www.dnp.go.th/fca16/file/kd3v1xur10qj9tm.

8. จิระวัฒน์ วงศ์สวัสดิ์วัฒน์. ทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรม การวัด การพยากรณ์ และการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามดีการพิมพ์;2538.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)