รูปแบบกิจกรรมเพื่อควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
รูปแบบกิจกรรม, ควบคุมและป้องกัน, การสูบบุหรี่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยส่วนบุคล ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษา 2. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษา 3. รูปแบบกิจกรรมเพื่อควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร จำนวน 70 คนและนักศึกษา จำนวน 530 คน ประจำปีการศึกษา 2557 และกระบวนการกลุ่มศึกษารูปแบบกิจกรรมควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และกระบวนการกลุ่ม สถิติได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า บุคลากร ปัจจุบันมีผู้สูบบุหรี่ 2 คน ระยะเวลาการสูบ 11 ปี และ 40 ปี จำนวนที่สูบวันละ 10 และ 15 มวนต่อวัน ต้องการเลิก 1 คน และไม่ต้องการเลิก 1 คน ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่อยู่ระดับมาก พฤติกรรมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ อยู่ระดับปานกลาง นักศึกษา ปัจจุบันมีผู้สูบบุหรี่ 7 คน จำนวนที่สูบวันละ 2-6 มวนต่อวัน ต้องการเลิก 4 คน ไม่ต้องการเลิก 3 คน ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่อยู่ระดับมาก จากนั้นเป็นการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์เข้าสู่กระบวนการกลุ่ม พบว่า นักศึกษา บุคลากรได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ สาเหตุ อาการ ผลกระทบ วิธีการควบคุมและป้องกันโดยเฉพาะกฎหมายในปัจจุบัน ผู้บริหาร อาจารย์ให้ความสำคัญและตระหนักถึงโทษพิษภัยบุหรี่ การได้รับทุนสนับสนุนมีส่วนสำคัญในการดำเนินกิจกรรม ช่วงเวลามีจำกัด นักศึกษามีการเรียนมากและไม่ตรงกันทุกหลักสูตร รูปแบบกิจกรรมที่ควรดำเนินการ ในปีต่อไปไปจำนวน 18 กิจกรรม ส่วนใหญ่เป็นการรณรงค์ควบคุมและป้องกัน/ลด/ละ/เลิกเกี่ยวกับการบริโภคยาสูบทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย โดยวิทยาลัยสามารถวางแผนกำหนดกิจกรรมในปีการศึกษาต่อไป อันจะนำให้บุคลากรและนักศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดี และนำกิจกรรมการควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่สู่ชุมชนให้ปราศจากมลพิษของบุหรี่
References
2. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. ข้อมูลต้องรู้ อันตรายที่ได้รับจากควันบุหรี่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่;2553.
3. กลุ่มกิจการนักศึกษา. คู่มือนักศึกษา. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก;2553.
4. สมตระกูล ราศิริและคณะ, โครงการวิทยาลัยต้นแบบของสถาบันการศึกษาด้านสุขภาพในการแก้ปัญหาบุหรี่และสุขภาพ. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก: พิษณุโลก;2551.
5. ศักดา ไชยวงค์และคณะ. โครงการสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อการไม่สูบบุหรี่ตามโครงการกลยุทธวิชาชีพทันตแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ทันตแพทยสภา. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก: พิษณุโลก;2551.
6. ศักดา ไชยวงค์และคณะ. โครงการสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อการไม่สูบบุหรี่ตามโครงการกลยุทธวิชาชีพทันตแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ทันตแพทยสภา. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก: พิษณุโลก;2553.
7 ประกิต วาทีสาธกกิจ. กลยุทธ์ในการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสสังคมศึกษาเฉพาะกรณีการดำเนินงานของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. การทบทวนและวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยการควบคุมยาสูบของประเทศไทย(หน้า 41). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2540.
8. สุพรรณี ปานดี. การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ วทม. (สาธารณสุขศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหิดล;2542.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล