การพัฒนาระบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนบ้านแกใหญ่ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นันทนา สุจินพรัหม หลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหบัณฑิต สาขาสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพัตรา วัฒนเสน วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษด้านการสอน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทันตสุขภาพ, การเฝ้าระวังทันตสุขภาพ, การส่งเสริมทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

           โรคในช่องปากโดยเฉพาะโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบเป็นปัญหาสำคัญของสุขภาพช่องปาก ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพทันตสุขภาพจึงจำเป็นสำหรับการป้องกันโรคในช่องปาก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ศึกษาในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านแกใหญ่ และเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขนาดตัวอย่างจำนวน 69 คนเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามความรู้ เจตคติ และ การปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตพฤติกรรม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา และ paired sample t – testข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

              ผลการศึกษาพบว่า จากกระบวนการพัฒนาครั้งนี้ได้เกิดระบบการดำเนินงาน 5 ขั้นตอนได้แก่ 1)การส่งเสริมทันตสุขภาพระดับบุคคล 2 ) การส่งเสริมทันตสุขภาพระดับโรงเรียน 3 ) การส่งเสริมทันตสุขภาพในระดับชุมชน 4 ) การจัดระบบบริการทันตกรรมอย่างทั่วถึง5) จัดให้มีระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในระดับโรงเรียน จากผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วม และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และจากการเปรียบเทียบคะแนนความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p - value<0.001) และนักเรียนมีสุขภาพช่องปากดีขึ้นโดยการทดสอบค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p –value<0.001)

            ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเกิดจากการมีส่วนร่วมของเครือข่ายได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ครู และชุมชน ความร่วมมือในการสร้างแบบแผนการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ซึ่งสามารถขยายการดำเนินงานและแสวงหาเครือข่ายร่วมพัฒนาเพิ่ม เพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ.2549-2550.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์.รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากเขตพื้นที่บริการที่9;2555.

4. สุลีรัตน์ สุนทรเกตุ.สภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1.กรุงเทพฯ:กรมอนามัย;2537.

5. สุวรรณา เอื้ออรรถการุณ. รายงานสถานการณ์การบริโภคอาหารว่างและเครื่องดื่ม การดูแลสุขภาพช่องปากและสภาวะทันตสุขภาพของเยาวชนในโรงเรียนมัธยมศึกษา;2556.

6. สุมาลี ไชยแสนทา.การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนางานทันตสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยและสถิติการศึกษา).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2546.

7. สุทิศา มูลละ.การพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสันทรายหลวงจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การส่งเสริมสุขภาพ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2548.

8 ศรีไศล เกษศิริโยธิน.การพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพโรงเรียนบ้านโพธิ์กระสังข์อำเภอขุนหาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 4.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม;2551.

9 ณัฐวุธ แก้วสุทธา.ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น.วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2556;19(2): 153-163.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)