สมการพยากรณ์การปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชนของนักสุขภาพครอบครัว

ผู้แต่ง

  • ปริญญา จิตอร่าม วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • อาภาพร กฤษณพันธุ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

นักสุขภาพครอบครัว, การปฏิบัติงาน, ชุมชน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อการปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชนของนักสุขภาพครอบครัว  2) เพื่อศึกษาความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชนของนักสุขภาพครอบครัว 3) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชนของนักสุขภาพครอบครัวและ 4) เพื่อวิเคราะห์สมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลการปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชนของนักสุขภาพครอบครัว ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักสุขภาพครอบครัว ตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 990 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถ้อยเชิงเส้น(Linear Regression Analysis)กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            ผลการวิจัยพบว่า1) นักสุขภาพครอบครัวมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (m = 3.15,s = 0.67)2) นักสุขภาพครอบครัวมีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง (m  = 3.32, s = 0.66)3) นักสุขภาพครอบครัวมีการปฏิบัติงานสุขภาพในชุมชน อยู่ในระดับสูง (m  = 1.51,s = 0.38)และ 4) วิเคราะห์สมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลการปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชนของนักสุขภาพครอบครัว คือ การปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชน = 0.66 + 0.19 (ความคาดหวังในผลลัพธ์) + 0.12 (การรับรู้ความสามารถแห่งตน) - 0.08 (เพศ)

References

1. อมร นนทสุต. “ทิศทางการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า.” ใน สาธารณสุขมูลฐาน ภาคอีสาน. ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม – กันยายน 2545) : 8.

2. วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : กองการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ;2538.

3 วราภรณ์ กุประดิษฐ์,นีออน พิณประดิษฐ์และศรินทิพย์ รักษาสัตย์. “ การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน.” ใน วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2551 ; ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พค.-สค. 2551:93-106.

4 จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์, เพ็ญนภา วิชกูล และอารีรัตน์ วิเชียรประภา. “ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในระยะคลอดของมารดาครรภ์แรก.” ใน วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 กันยายน 2553 - กุมภาพันธ์ 2554.

5 นวรัตน์ พระเทพ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ. กรุงเทพฯ: สถาบันโรคทรวงอก;2555.

6 อุษณี แสงสุข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2545.

7 ประสิทธิ์ ไกยราช, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. “ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและ ความคาดหวังในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นชายตอนต้น.” ใน วารสารพยาบาลสาธารณสุข. มกราคม – เมษายน 2555 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)