ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพที่ 5
คำสำคัญ:
ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, ลักษณะงาน, ความสำเร็จในงาน เงื่อนไขการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีมีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนา แบบการศึกษาสหสัมพันธ์และการพยากรณ์กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ปฏิบัติงานในเขตบริการสุขภาพที่ 5 จำนวน 224 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีความตรงและมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.721-0.945 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า
ผลการวิจัยพบว่า เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขมีความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง พิจารณารายด้านพบว่า ความยึดมั่นผูกพันด้านความรู้สึกและความยึดมั่นผูกพันที่เกิดจากมาตรฐานทางสังคมอยู่ในระดับปานกลางส่วนด้านความยึดมั่นผูกพันต่อเนื่องอยู่ระดับน้อยผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข มีจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะงาน (X3) ความสำเร็จในงาน (X1) และเงื่อนไขการทำงาน (X10) ร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขได้ร้อยละ 42.9 มีสมการทำนายด้วยคะแนนมาตรฐานดังนี้ Y = 0.409 X3 + 0.269 X1 + 0.201X10
ดังนั้นผู้บริหารหน่วยบริการสุขภาพในเขตบริการสุขภาพที่ 5 ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านลักษณะงาน ความสำเร็จในงาน และเงื่อนไขการทำงาน เป็นลำดับแรกเพื่อพัฒนาให้เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขมีความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพเพิ่มขึ้น
References
2. สมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย. การสำรวจข้อมูลทันตบุคลากร (ทันตาภิบาล). เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557.
3. จิลาวัณย์ ชื่นรุ่งโรจน์, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ และวรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในสถานบริการสาธารณสุข เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17. การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ครั้งที่ 14 ;2555: 1030-1040.
4. เฉลิมศรี เหมาะหมาย, และสงครามชัย ลีทองดี. สภาพปัญหาและการคงอยู่ปฏิบัติงานของทันตาภิบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล กรณีศึกษา เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 9. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 9;2557: 311-318.
5. เฟรเดอริก เฮิร์ซเบิร์ก. คุณจะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างแรงจูงใจพนักงาน. ใน: ณัฐยา สินตระการผล. การบริหารทรัพยากรบุคคล On Managing People. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด; 2555.
6.วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม. แรงจูงใจในงานที่มีผลต่อความผูกพันในงานขออาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารศึกษาศาสตร์ 2551; 59-74.
7. Meyer, J. P., Allen, N. J., & Smith, C. A. Commitment to organizations and occupations: Extension and test of three – component conceptualization. Journal of Applied Psychology 1993; 78:538-551.
8. สุมิตรา จิระวุฒินันท์, กิตติชีย อัครวิมุต, เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ และปิยนันท์ ทองน้อยเลิศชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อวิชาชีพกับความตั้งใจออกจากวิชาชีพพยาบาล. ศรีนครินเวชศาสน์ 2553; 25:31-6.
9. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์; 2551.
10. สมนึก โสตถิกิจกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล การสนับสนุนจากองค์การกับความผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2552.
11. พัฒราภรณ์ กล้าหาญ. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพกับความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ เขตกรุงเทพ[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2550.
12. วศกร แก้วทิพย์. ปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลภาคใต้ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2551.
13. นิติพล ภูตะโชติ. พฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: บริษัททวี. พริ้นท์ (1991) จำกัด;2556.
14. Ik-Whan G. Kwon and Doyle W. Banks. Factors related to the organizational and professional commitment of internal auditors. Managerial Auditing Journal 2004; 19:606-622.
15. สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พลังวิชาชีพพยาบาล ความเชื่ออำนาจภายในตนกับความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
16. บุษยสิทธิ์ พงษ์พิจิตร, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, และเสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ. การสำรวจกำลังคน ความต้องการเปลี่ยนสายงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการเปลี่ยนสายงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล