ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธนากร โตกิ่งแก้ว หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Study) ศึกษาในผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนคราชสีมา จำนวน 388  คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์มาจากแนวคิดในการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพ (PRECEDE Framework) ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้ปกครอง 3 ด้าน คือ การควบคุมการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุ การแปรงฟัน และการตรวจฟัน โดยใช้สถิติ Multiple logistic regressions

           ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนทั้ง 3 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ด้านการควบคุมการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุ คือ อาชีพผู้ปกครอง (p-value 0.007, OR=1.77, 95%CI 1.16-2.66) และการได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (p-value 0.034, OR=0.30, 95%CI 0.10-0.91), ด้านการแปรงฟัน คือทัศนคติทางทันตสุขภาพ (p-value<0.001, OR=0.35, 95%CI 0.21-0.59) การมีเวลาตรวจฟันให้เด็กอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (p-value 0.004, OR=0.33, 95%CI 0.16-0.70) การได้รับข่าวสาร/ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากจากโทรทัศน์ (p-value<0.001, OR=4.78, 95%CI 2.37-9.64), ด้านการตรวจฟัน คือ ทัศนคติทางทันตสุขภาพ (p-value 0.002, OR=2.15, 95%CI 1.33-3.48) การมีแปรงสีฟันสำหรับการแปรงฟันของเด็ก (p-value 0.018, OR=3.28, 95%CI 1.27-11.07) การได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (p-value 0.007, OR=0.27, 95%CI 0.11-0.70)

References

1. Caglaroglu, M., Kilic, N., &Erdem, A.Effects of early unilateral first molar extraction on skeletal asymmetry. American journal of orthodontics and dentofacial orthopedics 2008; 134 (2),270-275.

2.Sheiham, A. Oral health, general health and quality of life. Bulletin of world health Organization 2010; 83(9): 664.

3.Declerck, D., Leroy, R., Martens, L., Lesaffre, E., Garcia-Zattera, M.J., VandenBroucke, S. et al..Factors associated with prevalence and severity of caries experience in preschool children. Community dentistry and oral epidemiology 2008; 36(2): 168-178.

4.Hoeft, K.S., Barker, J.C. & Masterson, E.E. Maternal beliefs and motivations for first dental visit by Low- income Mexican American Children in California. Pediaticdentistry, 2010; 33(5): 392-8.

5.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2555.

6.กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.รายงานผลการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขปี 2556.นครราชสีมา; 2556.

7.Hsieh, F.Y., Bloch D.A., Larsen, M.D. A Simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine 1998; 17(14): 1623-1634.

8.Green, L.W., &Krueter, M.W., Deeds, S.G. &Partidge, K.B.Healtheducation planning: A diagnostic approach.CA: Mayfield;1980.

9.นฤชิต ทองรุ่งเรืองชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันให้เด็ก อายุ 1-5 ปี ของผู้ปกครอง ในเขตอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.

10.ลักขณา อุ้ยจิรากุล. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กในจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาทันตแพทย์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางทันตแพทย์ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.

11.Scroth, R.J., Brothwell, U.J. &Moffalt, M.E.K. Care giver knowledge and attitudes of preschool oral health and Early Childhood Caries (ECC). International journal of circumpolar health 2007;66(2):153-167.

12.เฉลิมวิทย์ หาชื่น. การรับรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)