ประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิตต่อการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในนักศึกษา ทันตสาธารณสุขชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, กระบวนการเรียนรู้, ทักษะชีวิต, การสูบบุหรี่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิตต่อการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในนักศึกษาทันตสาธารณสุข ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข ชั้นปีที่ 1 จำนวน 35 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling ) โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิตต่อการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธ และการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติ ร้อยละ (Percentile), ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติ t- test (Paired Sample t-test)ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่ และการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการปฏิเสธก่อนและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
2. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเวชภัณฑ์กระทรวงสาธารณสุข.อึ้ง! คนไทยสูบบุหรี่ปีละ 11 ล้าน ตายปีละครึ่งแสน. [อินเตอร์เน็ต]. [อ้างถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558].จาก http://manager.co.th/QOL/ViewNews.
3. ปานชีวัน แลบุญมา. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในเขตสถานีอนามัยบ้านแม่ปุ อ.แม่พริก จ.ลำปาง.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2551.
4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557. [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [อ้างถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558]. จาก http://service.nso.go.th.
5. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น.การเสริมสร้างทักษะชีวิตตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. [อินเตอร์เน็ต]. [อ้างถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558]. จาก http://lifeskills.obec.go.th.
6. มานี ชูไทย. วิชาการสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล;2523.
7. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. การสอนสุขศึกษาทฤษฎีและการประยุกต์.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพาณิช;2523.
8. นายพิพัฒน์พล พินิจดี. โปรแกรมการประยุกต์การสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับการชี้แนะนโยบาย เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อ.ศรีธาตุ จ. อุดรธานี. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2557.
9.ชญาณิศา ปินะถา. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง. ขอนแก่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.
10. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. [อินเตอร์เน็ต]. [อ้างถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558]. จาก www.afaps.ac.th/22war/curriculum.pdf.
11. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. แนวคิดทักษะชีวิต. [อินเตอร์เน็ต]. [อ้างถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2558]. จาก http://lifeskills.obec.go.th/main.php.
12. สุชาติ โสมประยูร. การสอนสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช;2525.
13. เกตุทิพย์ เชียงคำ และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตในการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งฟ้าวิทยาคม ต.ท้องฟ้า อ.บ้านตาก จ.ตาก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร;2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล