ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ มีวรรณี สาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study)เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวน 130 คนซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้สูงอายุและได้ทำการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมEpi info แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลในโปรแกรม STATA v.10 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด สำหรับการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุ โดยการวิเคราะห์คราวละปัจจัยใช้สถิติ Chi-square test และการวิเคราะห์คราวละหลายปัจจัยใช้สถิติ Multiple logistic regression

          ผลการศึกษาพบว่าด้านความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ ได้แก่ จากการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่าอาชีพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05 OR=2.69 95%CI1.20 ถึง 6.14) พบว่าความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05 OR=3.94 95%CI12.80 ถึง 14.39)ซึ่งการที่ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี การมีสถานบริการทันตกรรมอยู่ใกล้บ้าน มีเวลาเพียงพอต่อการตรวจสุขภาพตนเอง การมีเวลาในการไปพบทันตแพทย์ รวมไปถึงการมีเวลาเพียงพอในการแปรงฟันในแต่ละครั้งนั้น เป็นปัจจัยเอื้อที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)และจากการที่ผู้สูงอายุมีคนในครอบครัว ให้คำแนะนำในการดูแลทันตสุขภาพ มีการได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากรเป็นประจำ มีการได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การแปรงฟันที่เพียงพอ รวมไปถึงการที่คนในครอบครัวพาผู้สูงอายุไปพบทันตแพทย์ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)จากการศึกษาพบว่าสภาวะโรคปริทันต์ของผู้สูงอายุ จากค่าดัชนี PRI (Periodontal Record Index)และระดับการโยกของฟันในช่องปากของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)

References

1. กรมอนามัย. ผู้สูงอายุ. [ออนไลน์] 2556. [อ้างถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2557] จากhttp://hp.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index5

2. กองทันตสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557, จาก http://www.anamai.ecgates.com/news/news_detail.php?id=760; 2556.

3 กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. แบบสรุปผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับจังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557, จาก http://www.phetchabunhealth.go.th/web/; 2556.

4 Hsieh, B., & Larsen, M.D. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. John wiley & sons, Ltd, 17, 1623-1634;1998.

5 งานพัฒนาระบบข้อมูล กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพPRECEDE Framework. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2557, จาก http://203.157.7.150/frontend/theme/view_general_data.php?ID_Menu=
3822&Init=Set&Init_Chk=0; 2557.

6. ประกาย จิโรจน์กุล. แนวคิดทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพและการนำมาใช้. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2556.

7. จงกลนี บุญอาษา. การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ หมู่ 13 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. งานวิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.

8. ขนิษฐา ไชยประการ. สภาวะทันตสุขภาพและผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางทันตแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.

9. รัยฮานี บือราเฮง. ปัญหาทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส.งานวิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา;2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)