ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ศตวรรษ ศรีสมบัติ สาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • น้ำเพชร ตั้งยิ่งยง รองนายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ทันตสุขศึกษา, ทันตสาธารณสุข, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

           การดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน เป็นการดำเนินงานที่สำคัญในการควบคุมและป้องกันปัญหาทางทันตสุขภาพของประชาชนการ วิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนหลังภายในกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนหลังระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโรคทางทันตสาธารณสุขในชุมชน โดยผู้มีส่วนในการดำเนินงานได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน ประกอบด้วยกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน กลุ่มทดลองจะได้รับกิจกรรมโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้นมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล

โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย Dependent t-test และ Independent t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีสรุปประเด็น และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนา

              ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มทดลองมีปริมาณคราบจุลินทรีย์ในช่องปากลดลง และมีความรู้ด้านทันตสาธารณสุข ทัศนคติ ในการดำเนินงานด้านทันตสาธารณสุข การปฏิบัติตนในการดูแลทันตสุขภาพ การรับรู้การดำเนินงานด้านทันตสาธารณสุข การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชน เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value<0.001)

            ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชน โดยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะจากทันตบุคลากร สามารถพัฒนาการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองโดยวัดจากปริมาณคราบจุลินทรีย์ และมีการปรับเปลี่ยน ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตน การรับรู้ และการมีส่วนร่วม มีผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนได้

References

1. กองทันตสาธารณสุข. ทำการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมทางทันตสุขภาพครั้งที่ 7 (พ.ศ.2555). กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์; 2555.

2. วิมลสิริ พรหมมูล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียน ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านปราสาท ตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ . วิทยานิพนธ์ปริญญา สม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

3. วีระนุช ไชยศรี. ศึกษาผลของการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพเด็ก ก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้างพังซ่อน ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ,วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.

4. อรกัญญา บัวพัฒน์. ประสิทธิผล ของโปรแกรมสุขศึกษา โดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเอง ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมการแปรงฟันอย่างถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเลื่อม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา สม.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

5. อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง . ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านปรือคึมม่วง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ,วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)