สภาวะทันตสุขภาพในเด็กวัยก่อนเรียนจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ นามมนตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

เด็กวัยก่อนเรียน, ฟันน้ำนมผุ, ความชุก, ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด

บทคัดย่อ

             เมื่อพิจารณาจากความชุกของการเกิดฟันโรคฟันผุ (Caries prevalence) และค่าเฉลี่ยฟันน ้านม ผุ ถอน อุด (dmft) ในการส ารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 เด็กวัยก่อนเรียนยังมีแนวโน้มการเกิดปัญหาฟันน ้านมผุสูง การศึกษาวิจัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเด็กวัยก่อนเรียน ทำการเก็บรวบรวมสภาวะสุขภาพช่องปากจากเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 332 คน โดยใช้แบบตรวจสุขภาพช่องปากที่ดัดแปลงจากแบบสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติในเด็ก 3-5 ปี ครั้งที่ 7 สำรวจความชุกของการเกิดฟันนำ้นมผุ และค่าเฉลี่ยฟันนำ้นมผุ ถอน อุด ในภาพของอำเภอที่มีลักษณะภูมิประเทศที่อาจมีความแตกต่างจากอำเภอที่สุ่มในการตรวจระดับประเทศทำให้ทราบข้อมูลเฉพาะสำหรับจังหวัดและสามารถนำไปวางแผนการจัดบริการทันตกรรมและบริการส่งเสริมทันตสุขภาพได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

          ผลการศึกษาพบว่า เด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 332 คน มีฟันนำ้นมผุ 274 คนคิดเป็ นร้อยละ 82.5 ปราศจากฟันผุจำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ในฟันนำ้นม (dmft) เท่ากับ 5.93 ซึ่ต่อคน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยฟันนำ้นม ผุ ถอน อุด ของประเทศ(dmft =4.4) อัตราการสูญเสียฟันของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเท่ากับร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับการสูญเสียฟันในภาพรวมของประเทศซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 8.2 ผลการศึกษาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการให้บริการทางทันตกรรมและการส่งเสริมทันตสุขภาพ

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 ประเทศไทยพ.ศ. 2555. สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัยพฤษภาคม;2556.

2. World Health Organization. Oral Health Surveys: Basic methods. 5th ed. Geneva;2013.

3. Elidrissi SM, Naidoo S. Prevalence of dental caries and toothbrushing habits among preschool children in Khartoum State, Sudan. Int Dent J. 2016 Apr 8.

4. Lo E, Loo E, Lee C. Dental health status of Hong Kong pre-school children. Hong Kong Dent J. 2009;6:6-12.

5. Sufia S, Chaudhry S, Iszhar F, et al. Dental caries experience in preschool children - is it related to a child's place of residence and family income? Oral health & preventive dentistry2011;9:375-9.

6. Senesombath S, Nakornchai S, Banditsing P, et al. Early childhood caries and related factors in Vientiane, Lao PDR. South-east Asian J Trop Med Public Health 2010;41:717-25.

7. Wyne AH, Adenubi JO, Shalan T, et al. Feeding and socioeconomic characteristics of nursing caries children in a Saudi population. J Paediatr Dent. 1995;17:451-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)