ทันตสุขศึกษากับการบูรณาการเรียนการสอน

ผู้แต่ง

  • สมตระกูล ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธิติรัตน์ ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • สงศักดิ์ สุขสันต์ สุขสันต์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • เกียรติศักดิ์ แซ่อิว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ทันตสุขศึกษา, การบูรณาการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

    วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลกได้จัดทำโครงการบูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการเพื่อชุมชนสุขภาพดีมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ และเพื่อเป็นการให้ทันตสุขศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในระดับชุมชนซึ่งได้กำหนดการจัดการเรียนการสอนในวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ โดยนักศึกษาสาขาทันตสาธารณสุขเป็นแกนหลักในการให้ทันตสุขศึกษากับนักเรียนในโรงเรียนวัดเขาสมอแคลง ริ้วศิริวัฒน์อุปถัมภ์ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 21 คน ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้ 1.การศึกษาสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง2. การเขียนโครงการ 3. การขออนุมัติโครงการ4. การจัดเตรียมสถานที่/วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ 5. การดำเนินการตามแผนสุขศึกษา และ 6.การสรุปและประเมินผล

    จากการดำเนินทัตสุขศึกษากับการบูรณาการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนร้อยละ 61.9แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง  นักเรียนร้อยละ 28.6 แปรงฟันวันละมากกว่า 2 ครั้ง และนักเรียนร้อยละ 9.5 แปรงฟันวันละ 1 ครั้งนักเรียนร้อยละ85.7 ไปรับบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการของรัฐนักเรียนร้อยละ 9.5ไปรับบริการทันตกรรมที่คลินิกเอกชน และนักเรียนร้อยละ 4.8 ไม่เคยไปรับบริการทันตกรรม นักเรียนร้อยละ 42.9 พบว่า มีฟันผุและมีหลุมร่องฟันลึกนักเรียนร้อยละ 28.6พบว่า มีฟันผุอย่างเดียว นักเรียนร้อยละ 19.0 พบว่า มีหลุมร่องฟันลึกอย่างเดียวนักเรียนร้อยละ 9.5พบว่าไม่มีทั้งฟันผุและหลุมร่องฟันลึก

    ในส่วนของการประเมินผลโครงการ พบว่า หลังดำเนินกิจกรรมทันตสุขศึกษา นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมทันตสุขศึกษา รวมถึงมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการในระดับมากควรมีการติดตามพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การตรวจฟันผุ หลุมร่องฟันลึก การแปรงฟันที่ถูกต้อง และการเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนกับสถานบริการสุขภาพ เพื่อประเมินสถานการณ์สุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

1. มหาวิทยาลัยบูรพา. คู่มือหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี;2554.

2. สมตระกูล ราศิริและคณะ.โครงการบริการวิชาการสู่โรงเรียนสุขภาพดีปลอดบุหรี่.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก;2556.

3. สมตระกูล ราศิริและคณะ.โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชนสุขภาพดีปลอดบุหรี่. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก;2557.

4. สุวิทย์ มูลคา และคณะ.เด็กเรียนรู้ด้วยครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ทีพีพริ้นท์;2543.

5. ปานเพชร ชินินทร และวิเชษฐ์ พลายมาศ. ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานสำหรับอุดมศึกษาไทย การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม;2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-03

ฉบับ

บท

บทความทางการศึกษา (Education and academic article)