ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ เณรทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, การเคลือบหลุมร่องฟัน

บทคัดย่อ

     โรคฟันผุในเด็กเป็นปัญหาสุขภาพช่องปาก มีผลให้สูญเสียฟันส่งผลทำให้การบดเคี้ยวอาหาร การพูดไม่ชัด มีผลกระทบการเรียนและคุณภาพชีวิตของเด็ก การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ภาคตัดขวาง (Cross sectional descriptive study) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเคลือบหลุมร่องฟันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ที่รับผิดชอบงานเคลือบหลุมร่องฟันนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 137 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้วิเคราะห์ Pearson correlation Coefficient

    ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้, ทัศนคติ และการปฏิบัติในการเคลือบหลุมร่องฟันอยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการเคลือบหลุมร่องฟัน พบว่า (1.) คุณลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา, ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, สถานที่ปฏิบัติงานในปัจจุบัน, สถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา, เงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน และประสบการณ์ในการเคลือบหลุมร่องฟัน  (2.) ความรู้เรื่องการเคลือบหลุมร่องฟัน (3.) ทัศนคติการให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันพบว่า   ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการเคลือบหลุมร่องฟันแต่พบความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการเคลือบหลุมร่องฟันกับ (1.) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขมีความสัมพันธ์ในระดับสูง (r = 0.989, p – value <0.001) และความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการเคลือบหลุมร่องฟันกับ (2.) อายุของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข มีความสัมพันธ์ในระดับสูงเช่นเดียวกัน (r = 0.972, p – value <0.001)

    ดังนั้นจึงควรมีการเสริมสร้างและทบทวนความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการเคลือบหลุมร่องฟันให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างเป็นประจำเพื่อให้มีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมั่นใจ

References

1. Ahovuo-Saloranta A, Hiiri A, Nordblad A, Makela M, Worthington HV.Pit and fissure sealants for preventing dental decay in the permanent teeth of children and adolescents. Finland: Health TechnologyPublishing Company;2004.

2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2549. นนทบุรี:โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก;2550.

3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2555. นนทบุรี:โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก;2556.

4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.สุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน.พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี:โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก;2555.

5. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.รายงานการสุ่มสำรวจการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ประจำปี 2556.เอกสารโรเนียว;2557.

7. Hsieh, F.Y., Bloch, D.A. & Larsen, M.D. A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression.California U.S.A.;Statist Med;1998.p.1623 -1634.

8. จิระพร ยอดท่าหว้า.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย จังหวัดชัยภูมิ.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.

9. จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)