การเห็นคุณค่าตนเองที่มีผลต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ คุณาวิศรุต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การเห็นคุณค่าตนเอง, ภาวะทันตสุขภาพ, ดัชนีฟันผุ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

      ผู้สูงอายุมักต้องเผชิญปัญหาสุขภาพช่องปากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสภาพช่องปาก ฟันผุ อุด ถอน และเหงือกอักเสบ หากผู้สูงอายุต้องมีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้น ปัญหาสุขภาพช่องปากก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องดูแลสภาวะทันตสุขภาพและควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้ดูแลและบุคลากรสาธารณสุขของรัฐ วิธีการหนึ่งก็คือสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองที่มีต่อปัญหาสุขภาพช่องปากหรือสภาวะทันตสุขภาพของตนเอง การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาผลของการเห็นคุณค่าตนเองตามแนวคิดของคูเปอร์สมิธที่มีต่อสภาวะทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ

      กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 152 คน ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ติดสังคมและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในตำบลทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรีข้อมูลเก็บโดยใช้แบบตรวจสุขภาพช่องปากและแบบสัมภาษณ์แบบซึ่งมีโครงสร้าง โดยถามข้อมูลส่วนบุคคลกับการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความเที่ยงวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.82วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำแจกแจงความถี่ หาจำนวนร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน หากพบว่าสัมพันธ์กันจะทำการวิเคราะห์ถอดถอยต่อ ผลการศึกษาพบว่า

       ผู้สูงอายุส่วนมากเป็นผู้หญิงร้อยละ (53.3 %) อายุเฉลี่ย 71.1 ± 7.7 ปี จบการศึกษาสูงสุดไม่เกินมัธยมศึกษา (71.7 %) มีสถานภาพสมรสคู่ (78.6 %) และมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 500– 10,000 บาท(61.5 %) ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองในระดับค่อนข้างสูงได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.3 โดยเห็นคุณความดีตนเองสูงสุดเฉลี่ยร้อยละ 75.7 รองลงมาเห็นอำนาจตนเองเฉลี่ยร้อยละ 69.2 เห็นความสามารถตนเองเฉลี่ยร้อยละ 68.8 และเห็นความสำคัญตนเองน้อยสุดเฉลี่ยร้อยละ67.0

       ส่วนสภาวะทันตสุขภาพ ผู้สูงอายุมีฟันที่ถูกถอนเฉลี่ย 8.2 ซี่ต่อคน มีฟันอุดและผุกับฟันผุเฉลี่ย 2.9 และ 1.2 ซี่ต่อคนตามลำดับ โดยมีดัชนีฟันผุ (DMFT) เฉลี่ย 12.4 ± 7.5 ซี่ต่อคน การเห็นคุณค่าตนเองกับการมีสภาวะทันตสุขภาพดีของผู้สูงอายุสัมพันธ์กันเชิงบวก ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.79และสามารถทำนายการมีสภาวะทันตสุขภาพดีของผู้สูงอายุร้อยละ 63.0 ตามสมการ Y = 0.18X – 3.46 เมื่อ Y คือ การมีสภาวะทันตสุขภาพดี และX คือ การเห็นคุณค่าตนเอง

References

1. สถาพร จันทร.คุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา.วิทยาสารทันตสาธารณสุข.กรุงเทพฯ:13(3); 2551:หน้า 158-166.

2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 (เมษายน 2555).กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2555.


3. สมนึก สมบัติวัฒนางกูร และ สุทิสา โพธิสา.สภาวะสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มารับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. กรุงเทพฯ:12(2); 2550: หน้า 61 – 74.

4. Marlene.Self-Efficacy : The Exercise of Control. New York :W.H.Freeman and Company; 2012:122-8.

5. Daniel, W.W.,& Cross, C.L. Biostatistics A Foundation for Analysis in the Health Sciences(10th), U.S.A.:John Willey & Son;2013.

6. ศศิวรรณ บุญญธรรม.การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองและการตัดสินใจทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต(จิตวิทยาพัฒนาการ).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2548.

7. ปฏิญญา แกล้วทนงค์. การศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2552.

8. Coopersmith, S.The antecedents of Self-esteem. Palo Alto: California Consulting Psychologists Press Inc;1981:46–54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)