คุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงจิตวิทยาของผู้บริหารวิทยาลัยฯ ตามความคาดหวังของบุคลากร วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้บริหาร, คุณลักษณะเชิงจิตวิทยา, ความคาดหวัง, จิตวิทยาองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงจิตวิทยาของผู้บริหารวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่นตามความคาดหวังของบุคลากรวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่นจำนวน 155 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.3อายุเฉลี่ย 27.27 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.87) มากกว่าครึ่งหนึ่งอายุ น้อยกว่า 21 ปี ร้อยละ 54.8 รองลงมาอายุ 41- 50 ปี ร้อยละ 13.5 ส่วนใหญ่ตำแหน่งอาจารย์ร้อยละ58.1 รองลงมาตำแหน่งเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนร้อยละ12.3ระดับการศึกษามากที่สุดคือ ระดับปริญญาโทร้อยละ40.0 รองลงมาคือ ระดับปริญญาตรีร้อยละ 34.1คุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงจิตวิทยาของผู้บริหาร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น ตามความคาดหวังของบุคลากรวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (Mean=4.06, S.D.= 0.68) จำแนกรายด้าน พบว่า ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ดังนี้ ด้านการปรับตัว (Mean = 4.17, S.D.= 0.57) ด้านบุคลิกภาพ (Mean = 4.13, S.D.= 0.54) ด้านสภาวะทางอารมณ์ความเป็นผู้นำ (Mean = 4.09,S.D.= 1.11) ด้านมนุษยสัมพันธ์(Mean = 4.09 , S.D.= 1.12) ด้านสภาวะทางอารมณ์ (Mean = 3.85, S.D.= 1.07)และการศึกษาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความเป็นผู้นำกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านบุคลิกภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.032; P-value <0.001)ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความเป็นผู้นำกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการปรับตัวมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.148; P-value <0.001)ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความเป็นผู้นำกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านสภาวะทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.878; P-value =0.011)และความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความเป็นผู้นำกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านมนุษยสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.905; P-value =0.013)
References
2. ดนัย เทียนพุฒ. มุมมองที่ท้าทายนักบริหาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2536.
3. อรุณ รักธรรม. ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา [ออนไลน์] 2550 [อ้างเมื่อ 29 กันยายน2556] จาก http://school.obec.go.th/bankudchiangmee/vicakan7.htm
4. อำนวย วีรวรรณ. คุณลักษณะของผู้บริหาร; [ออนไลน์] 2550 [อ้างเมื่อ 29 กันยายน2556] จาก http://www.minpoly.com/tu4.htm
5. ศรีลัย บริสุทธิ์. คุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงจิตวิทยาของผู้บริหารโรงเรียนตามความคาดหวังของพนักงานครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน.สาขาจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนวบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ :เชียงใหม่;2543.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล