ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบของ กลุ่มอายุ 35-44 ปี ในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • อนิษฎา เสนพริก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, โรคปริทันต์อักเสบ

บทคัดย่อ

          ประชากรโลกวัยกลางคน(อายุระหว่าง 35 - 44 ปี) ประมาณ ร้อยละ 15 -20 สูญเสียฟันจากโรคปริทันต์อักเสบ  ประเทศไทยกลุ่มวัยทำงานเป็นโรคปริทันต์ร้อยละ 40   ปัจจัยเสี่ยงของโรคปริทันต์อักเสบได้แก่ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การแปรงฟันไม่ถูกวิธีและไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบของกลุ่มอายุ 35-44 ปี  ในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ  Case -control  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลป่าพะยอม  อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง กลุ่มศึกษา (Case) เป็นผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปริทันต์อักเสบ  จำนวน 112 ราย กลุ่มควบคุม (Control) เป็นผู้ป่วยที่มารับรักษาโรคทางทันตกรรมอื่นๆที่ได้รับการวินิจฉัยว่าไม่เป็นโรคปริทันต์อักเสบจำนวน 112 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการประเมินสภาวะปริทันต์ด้วยแบบประเมินขององค์การอนามัยโลก คำนวณหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงและโรคปริทันต์อักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์การถดถอยลอจีสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression) กำหนดค่าช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95

         ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ไม่เคยขูดหินน้ำลายในรอบ 6 เดือนมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคปริทันต์อักเสบเป็น 2.29 เท่า ของผู้ที่เคยขูดหินน้ำลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj = 2.29, 95% CI : 1.13- 4.69) ผู้ที่แปรงฟันผิดวิธี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบเป็น 2.69 เท่า ของผู้ที่แปรงฟันถูกวิธีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj = 2.69, 95% CI :1.42- 4.90) ผู้ที่ไม่ใช้ไหมขัดฟันมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบเป็น 2.98 เท่าของผู้ที่ใช้ไหมขัดฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj= 2.98, 95% CI : 1.24-7.15) ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้การแปรงฟันที่ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ    และขูดหินน้ำลายอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ 

References

1. กฤษณา อิฐรัตน์. ปัญหาสุขภาพช่องปาก. ใน: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, บรรณาธิการ. เอกสารการสอนชุดวิชาทันตกรรม ป้องกัน เล่มที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ;2546:หน้า 155-188.

2. จินตกร คูวัฒนสุชาติ. จุลชีววิทยาช่องปาก และ ที่มาของ โรคฟันผุ โรคปริทันต์ และโรคในช่อง ปาก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2549.

3. ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา. โรคปริทันต์และ กระบวนการรักษา. กรุงเทพฯ: เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์;2544.

4. วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในประชากรอายุ 35-60 ปีที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2542;ม.ค.-มิ.ย.; 4 (1):59–66.

5. Amarasena N, Ekanayaka ANI, Herath L, Miyazaki H. Tobacco use and oral hygiene as risk indicators for periodontitis. Community Dentistry and Oral Epidemiology 2002;30(2):115–123.

6. Lages EJP, Costa FO, Lages EMB, et al. Risk variables in the association between frequency of alcohol consumption and periodontitis. Journal of Clinical Periodontology 2012;39(2):115–22.

7. Buunk-Werkhoven YAB, Dijkstra A, Van der Schans CP. Determinants of oral hygiene behavior: a study based on the theory of planned behavior. Community Dentistry and Oral Epidemiology 2011;39(3):250–9.

8. World Health Organization. The World Oral Health Report 2003. 2003 [cited 2012 July 24]. Available from http://www.who.int/oral_health/media/en/orh_report03_en.pdf

9. Petersen PE. The World Oral Health Report 2003: continuous improvement of oral health in the 21st century – the approach of the WHO Global Oral Health Programme. Community Dentistry and Oral Epidemiology 2003;31:3–24.

10. กองทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ: กองทันตสาธารณสุข;2551.

11. กองทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2543-2544. กรุงเทพฯ: กองทันตสาธารณสุข;2545.

12. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MDA. Simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine 1998;17(14):1623–1634.

13. Hosmer HD, Lemeshow S. Applied Logistic Regression. 2 ed. The United States of America: John Willy & Sons Inc;1989.

14. ชวลิต เหลืองธรรมะ. การควบคุมและป้องกันโรคปริทันต์. ใน: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, บรรณาธิการ. เอกสารการสอนชุดวิชาทันตกรรมป้องกัน เล่มที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2546:หน้า105-132.
15. วนิดา นิมมานนท์, จิรภัทร มงคลขจิต, ศิริวรรณ โอกระจ่าง. การศึกษาลักษณะแปรงสีฟันผู้ใหญ่ในกรุงเทพมหานคร. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล 2549;26:7–18.

16. วรานุช ปิติพัฒน์. เอกสารประกอบการสอนวิชา 564 508 ทันตกรรมป้องกัน. ขอนแก่น: ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2538.

17. Mamai-Homata E, Polychronopoulou A, Topitsoglou V, Oulis C, & Athanassouli T. Periodontal diseases in Greek adults between 1985 and 2005-risk indicators. International dental journal 2010;60(4):293–9.

18. Crocombe LA, Brennan DS, Slade GD. The relationship between dental care and perceived oral health impacts. Community dental health 2011; 28(4):259–264.

19. Van Der Weijden F, Slot DE. Oral hygiene in the prevention of periodontal diseases: the incidence. Periodontology 2000 2011;55(1):104–23.

20. Berchier C, Slot D, Haps S, Van der Weijden G. The efficacy of dental floss in addition to a toothbrush on plaque and parameters of gingival inflammation: a systematic review. International Journal of Dental Hygiene 2008;6(4):265–79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)