การบริหารจัดการโครงการนมฟลูออไรด์โรงเรียนประถมศึกษาในรูปแบบภาคีเครือข่าย อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เรวดี ศรีหานู โรงพยาบาลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
  • พวงทอง เล็กเฟื่องฟู สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

นมฟลูออไรด์, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

           การดำเนินงานโครงการนมฟลูออไรด์อำเภอพระยืน นักเรียนชั้นประถมศึกษาจะได้ดื่มนมฟลูออไรด์ชนิดพาสเจอร์ไรส์วันละ 1 ถุงทุกวัน ซึ่งกระบวนการเก็บรักษานมให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตั้งแต่บริษัทผู้ผลิตจนถึงนักเรียนจะทำให้นมมีคุณภาพ ไม่บูดเสีย ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการนมฟลูออไรด์ชนิดพาสเจอร์ไรส์โรงเรียนประถมศึกษาในรูปแบบภาคีเครือข่าย ในด้านการจัดเก็บรักษานมอย่างมีคุณภาพ และติดตามกำกับการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย กิจกรรมสำคัญคือ 1) สำรวจข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนและภาคีเครือข่าย 2) จัดตั้งเครือข่ายนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุอำเภอพระยืน ซึ่งประกอบด้วย ครูอนามัยโรงเรียน โรงงานผู้ผลิตนม ผู้ขนส่งนม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและทันตบุคลากร 3) อบรมให้ความรู้เรื่องการเก็บรักษานมอย่างมีคุณภาพ 4) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมสมองและร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ในการบริหารจัดการการดื่มนมฟลูออไรด์ในรูปแบบเครือข่าย ผลการดำเนินงานพบว่าผู้เข้าอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนอบรม 10.97 ± 1.76 และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังอบรม 12.80 ± 1.30 ผลการเปรียบเทียบพบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) หลังจากนั้นมีการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูล 1 ปีภายหลังนำข้อตกลงแนวทางการบริหารจัดการการดื่มนมฟลูออไรด์ไปดำเนินการในโรงเรียน พบว่า หัวข้อที่ภาคีเครือข่ายคือโรงเรียนและผู้ขนส่งนมปฏิบัติได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่  ถังเก็บนมมีขนาดเพียงพอกับปริมาณนมเมื่อบรรจุน้ำแข็งแล้วปิดฝาถังเก็บนมได้ (p=0.03)  การจัดเรียงน้ำแข็งในถังเก็บนมเหมาะสมในโรงเรียนขนาดเล็ก (p<0.001) อุณหภูมินมที่วัดได้อยู่ในช่วง 2-8 องศาเซลเซียส(p<0.01)  และลักษณะทางกายภาพของนมปกติ (p<0.01) แต่อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ต้องกำกับติดตามเพิ่มเติมได้แก่ การทำความสะอาดถังเก็บนมและทำให้แห้งทุกวันหลังเลิกเรียน ผู้ขนส่งนมควรเพิ่มปริมาณน้ำแข็งในถังเก็บนมในโรงเรียนขนาดกลางและความถี่ในการวัดอุณหภูมินม ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการคือ การเพิ่มความรู้และจัดทำแนวทางปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจนสำหรับเครือข่ายในการดำเนินงาน

References

1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มารักษาคุณภาพนมโรงเรียนกันเถอะ ฉบับผู้ประกอบการ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2555.

2. Guideline on Fluoride Therapy. American Academy of Pediatric Dentistry. 2014 [cited 2016 Oct 15]; 37(6):176-179. Available from: http://www.aapd.org/media/Policies_Guidelines/G_fluoridetherapy.pdf

3. V.C.C.Marinho. Cochrane reviews of randomized trials of fluoride therapies for preventing dental caries. European Archives of Paediatric Dentistry 2009; 10:183-93.

4. Melinda B. Clark, Rebecca L. Slayton. Fluoride Use in Caries Prevention in the Primary Care Setting. American Academy of Pediatrics 2014; 134:626-33.

5. กองทันตสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. โครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในเด็กกรุงเทพมหานคร เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา. นนทบุรี: กองทันตสาธารณสุข; 2551.

6. กรมอนามัย. กรมอนามัยเผยเด็กนราธิวาสฟันผุสูง เพิ่มพื้นที่นมฟลูออไรด์แห่งที่ 12 ป้องกันฟันผุ. [Online] 17 มิถุนายน 2558 [อ้างเมื่อ 20 ตุลาคม 2558]; Available from: URL:http://www.anmai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=8297.

7. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มารักษาคุณภาพนมโรงเรียนกันเถอะ ฉบับโรงเรียน. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2555.

8. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. คลายข้อสงสัยเรื่อง นอ.มอ.นม. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2552.

9. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2556.

10. Bonoczy J, Rugg-Gunn A, Woodward M. Milk fluoridation for the prevention of dental caries. Acta Medica Academica 2013; 42(2):156-67.

11. จารุรัตน์ พัฒน์ทอง. การศึกษาจุดเสี่ยงของเส้นทางกระจายนมและการควบคุมคุณภาพนมโรงเรียน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารอาหารและยา 2556; 1:48-61.

12. บุญศรี เลาหภักดี, วรลักษณ์ อนันตกูล, ประภา วุฒิคุณ และวันทนา อ่อนภิรมย์. การศึกษาคุณภาพนมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรส์จากแหล่งผลิตจนถึงนักเรียนผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี.วารสารอาหารและยา 2551; 1:76-84.

13. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. การเลือกนมในโรงเรียนให้ปลอดภัย. [Online] 10 พฤษภาคม 2558 [อ้างเมื่อ 20 ตุลาคม 2558]; Available from: URL: http://www. thaigcd.ddc.th/informations/view/376

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)