มุมมองของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขต่อการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ในโรงเรียนประถมศึกษาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วารุณี สุดตา วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุภาภรณ์ สุดหนองบัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การดำเนินงานทันตสาธารณสุข, เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นที่มีผลต่อการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการวิจัยในเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Thematic Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่าประเด็นที่มีผลต่อการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 1) ด้านนโยบายการดำเนินงาน ได้แก่ ควรมีการประสานงานร่วมกันตั้งแต่ระดับกระทรวงเพื่อให้มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพผู้บังคับบัญชาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม่เห็นความสำคัญของงานทันต-สาธารณสุข ขวัญและกำลังใจในการทำงานและการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเช่น การจัดสถานที่แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การควบคุมให้มีการจำหน่ายผลไม้แทนขนมกรุบกรอบ 2) ด้านบุคลากร ได้แก่ ทันตบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาจึงทำให้ขาดทักษะในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีงานที่ต้องรับผิดชอบหลายด้านทำให้งานที่ทำไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ครูอนามัยมีการเปลี่ยนบ่อยทำให้ขาดการประสานงานที่ต่อเนื่อง และผู้บริหารโรงเรียนไม่เห็นความสำคัญ เช่น การให้ความร่วมมือในการนำนักเรียนไปรับบริการอุดฟันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น

References

1. Tanaka K. Japan Country Report : School Oral Health Promotion Program. In the Proceeding of 2nd Asian Conference of Oral Health Promotion for School Children. Ayutthaya Thailand,2003; 57-62.

2. Miyazaki H and Morimoto M. (1996).Changes in Caries prevalence in Japan.European Journal ofSciences,1996; 104(4),458-468.

3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก; 2552.

4. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี 2555. นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. การสำรวจเพื่อประเมินการดำเนินงานตามกลุ่มอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2555. สุพรรณบุรี: งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี; 2555.

7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. การสำรวจเพื่อประเมินการดำเนินงานตามกลุ่มอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2556. สุพรรณบุรี: งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี; 2556.

8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. การสำรวจเพื่อประเมินการดำเนินงานตามกลุ่มอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2557. สุพรรณบุรี: งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี; 2557.

9. สุอัมพร ค้าทวี. คุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในสถานพยาบาลของรัฐ จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์ ส.ม. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี; 2556.

10. เฉลิมศรี เหมาะหมาย. สภาพปัญหาและการคงอยู่ปฏิบัติงานของทันตาภิบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษา เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 9. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 9, 2556;311-318.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)