คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศศิธร เฝ้าทรัพย์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณลักษณะส่วนบุคคล, ปัจจัยการบริหาร, การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่นประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่นจำนวน132คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง110คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คนแบบสอบถามได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีความเที่ยง(Reliability)0.96เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2559 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่

 ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

              จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงร้อยละ73.6 อายุระหว่าง 21 -30 ปี ร้อยละ61.8 การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 68.2สถานภาพโสดร้อยละ 51.8ระดับปัจจัยการบริหารและระดับการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.87(S.D.=0.49) ,4.20(S.D.=0.52) ตามลำดับปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขส่วนปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.578, p-value < 0.001) โดย ปัจจัยการบริหารด้านด้านเวลา(r = 0.637, p-value < 0.001) และปัจจัยการบริหารด้านกระบวนการบริหาร(r = 0.539,p-value < 0.001) มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 45.1  (R2 = 0.451,p-value<0.001 )

References

1. อุไรวรรณ อมรไชย. การบริหารจัดการและร่วมผลิตทันตาภิบาลจากท้องถิ่นโดยเครือข่ายบริการปฐมภูมิชุมชน และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี.ว.ทันตสาธารณสุข2550;10(2): 130-140.

2. สุณี วงศ์คงคาเทพ และคณะ.แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขสำหรับทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน.นนทบุรี: กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย;2552.

3. ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.รายชื่อและจำนวนเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา); 2558.

5. อรุณ จิรวัฒน์กุล. (บรรณาธิการ).ชีวสถิติ.พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น.คลังนานาธรรม; 2555.

6. วิชชนันท์ สุวรรณแสงและชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการให้บริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้กองทุนทันตกรรมของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 10.ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดอนแก่น2557;21(1): 44-62.

7. จิรชยา คำพิมพ์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล เขตสาธารณสุขที่ 10. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

8. จิริสุดา บัวผัน, ประจักร บัวผันและพรทิพย์ คําพอ.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชมชนเขตสาธารณสุขที่ 12.ว. วิจัย มข 2554; 16(6): 679-692.

9. ธรรมนูญบุญจันทร์และวิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี.ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น.ว. สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 25(293): 30-3.

10. อาคม ปัญญาแก้วและประจักร บัวผัน. ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น.ว. วิจัยมข2554; 16(7): 855-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)