การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, การวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข, สาธารณสุขชุมชน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข และ2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสังเคราะห์กระบวนการวิจัย และสังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้วิจัยเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เป็นนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 45 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการอธิบายข้อมูลทั่วไปสถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบสมรรถนะในการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข มีองค์ประกอบหลัก 7 ประการได้แก่ 1)หลักการและเหตุผล 2)วัตถุประสงค์การเรียนรู้3)เนื้อหาสาระวิชา4) กิจกรรมการเรียนการสอน 5) บทบาทผู้เรียน 6) บทบาทผู้สอน และ 7) การวัดผลและประเมินผลกิจกรรมการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า PORPAC Model  ประกอบด้วย 1)การระบุปัญหา(Problems:P)2)วัตถุประสงค์ (Objective:O) 3) การค้นคว้าเอกสารและตั้งสมมุติฐานการวิจัย(Review and Hypothesis:R) 4) การวางแผนและเก็บรวบรวมข้อมูล (Planning and  Data collection:P) 5) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing data:A) และ 6) การสรุปผล (Conclusion:C)

             ผลการตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)เท่ากับ  0.651สำหรับผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่านักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะในการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขก่อนและหลังการเรียนเท่ากับ 7.82 คะแนน(S.D.= 1.96) และ 12.64 คะแนน (S.D.= 1.82) ตามลำดับ  โดยหลังการเรียนนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.82 คะแนน (95% CI = 4.20 to 5.44; p-value < 0.001)

References

1. จุฑา ธรรมชาติ. การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา.สงขลานครินทร์, 2555; 18(1): 183-214.

2. Dick, W. and Carry, L. The Systematic Design of Instruction. Illinois : Scott Foreman and Company: 1989.

3. Joyce, B. , and Weil, M.Models of teaching. 4th ed. Boston : Allyn and Bacon:1996.

4. Erickson ,J.A., & Anderson, J.B. Leading with the community concepts and models for learning in teacher education. Washington D.C. American association for higher education: 1997.

5. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. หลักการสอนที่เน้นการวิจัยในระดับอุดมศึกษา การเรียนการสอนที่มีวิจัยเป็นฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย :2547.

6. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์และทัศนีย์ บุญเติม.การสอนแบบ Research base learning ใน แบบแผนและเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย: 2547.

7. ทิศนา แขมมณี. การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้: หลักการแนวทาง และวิธีการการเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว: 2548.

8. จินตนา สรายุทธพิทักษ์. เอกสารคำสอนรายวิชา 2723358 วิธีวิทยาการสอนสุขศึกษา วิชาสุขศึกษาและพละศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย: 2554.

9. โสภิดา ลิ้มวัฒนาพันธ์. รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ส านักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา: 2549.

10. อมรวิชช์ นาครทรรพ. เรียนรู้คู่วิจัย: กรณีการสอนด้วยกระบวนการวิจัยภาคสนามวิชาการศึกษากับสังคมคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: 2547.

11. มาเรียม นิลพันธ์. รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการครุศึกษาเชิงสร้างสรรค์แลผลิตภาพ:กรณีศึกษาคณะศึกษษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ศึกษาคณะศึกษษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร: 2549.

12. ปกรณ์ ประจันบาน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์: 2553.

13. สมนึก ปฏิปทานนท์. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา บุคลิกภาพประชาธิปไตย และทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ แบบการใช้การวิจัยเป็นฐาน และแบบปกติ. กองทุนเพื่อการวิจัย คณะครุศาสตร ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2549.

14. สันต์ สุวทันพรกูล.การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ที่บูรณาการสาระท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สาหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2551.

15. Viiri J, and SaariH.Research-based teaching unit on the tides.2004[Online]. Retrieved [cited 2015June 15]. Available from: http://web.ebscohost.com/ehost/pdf?vid=8&hid=112&sid=a3c78014-e3e9-4cf6-88bbe87278e27a3%40sessionmgr102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)