สภาวะฟันผุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับบริการทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสังคม จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ชณัฐดา สืบสิงห์คาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแสง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
  • สุธิดา กันหา โรงพยาบาลสังคม จังหวัดหนองคาย
  • อรวรรณ นามมนตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ณัฐฐินันท์ ทองปฐมวงศ์ โรงพยาบาลสังคม จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การเข้ารับบริการทันตกรรม, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ( cross-sectional survey ) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาวะฟันผุและศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม ที่มีความสัมพันธ์กับการมาใช้บริการทางทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลสังคม จังหวัดหนองคาย โดยใช้แนวคิดทฤษฏี PRECEDE FRAMEWORK กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลสังคม จังหวัดหนองคาย จำนวน 90 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ โดยใช้ Chi-square และ Fisher’s Exact Test

          ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43.3 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 80 มีความรู้อยู่ในระดับต่ำ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.7 มีสภาวะฟันผุ โดยมีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน (DMFT) คิดเป็น 5.6 ซี่/คน

          จากการศึกษาปัจจัยนำได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคล คือ อายุ การศึกษา รายได้ สิทธิการรักษาทางพยาบาล ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ประวัติด้านสุขภาพ ประวัติการตั้งครรภ์ และการมาใช้บริการก่อนตั้งครรภ์ ปัจจัยเอื้อได้แก่ สถานที่ตั้ง ช่องทางการได้รับความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ความสะดวกในการเดินทาง และความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการของทันตแพทย์และปัจจัยเสริมได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการทันตกรรมพบว่าปัจจัยด้านการให้บริการของทันตบุคลากร “ช่วงเวลาเปิดให้บริการมีความเหมาะสม” มีความสัมพันธ์ต่อการมารับบริการทางทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ (P-value = 0.03) โดยหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเห็นว่าช่วงเวลาเปิดให้บริการมีความเหมาะสมมีโอกาสมาใช้บริการทางทันตกรรมเป็น 9.05 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เห็นด้วยว่าช่วงเวลาเปิดให้บริการมีความเหมาะสม

References

1. อภิเชษฐ์ พฤกษาประทีป. สุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์. [ออนไลน์] 2554 (อ้างเมื่อ 18 สิงหาคม 2558) จาก http://motherandchild.in.th/content/view/192.

2. Wandera M, Åstrøm AN, Okullo I, Tumwine JK. Determinants of periodontal health in pregnant women and association with infants’ anthropometric status: a prospective cohort study from Eastern Uganda. BMC Pregnancy and Childbirth. 2012; 12:90. doi:10.1186/1471-2393-12-90.

3. Han YW. Oral Health and Adverse Pregnancy Outcomes – What’s Next? J Dent Res. 2011; 90(3):289-293. doi:10.1177/0022034510381905.

4. อรวรรณ นามมนตรี. ทันตสุขศึกษากับการส่งเสริมทันตสุขภาพ. วารสารทันตาภิบาล 2557; 25(2): 39-44.

5. สํานักทันตสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี 2558. สำนักทันสาธารณสุข กรมอนามัย [ออนไลน์] 2557 (อ้างเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558) จาก http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/2558/GuidelineDH58.pdf

6. สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. PRECEDE – PROCEED Model. [ออนไลน์] 2558
(อ้างเมื่อ 16 สิงหาคม 2558) จาก http://www.hepa.or.th/presentation58/PRECEDE-PROCEED%20Model%20ผศ.ดร.สุรีย์พันธุ์%20วรพงศธร.pdf

7. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา . พิมพ์ครั้งที่3. 2551.

8. World Health Organization. Oral Health Surveys: Basic methods 5th ed. Geneva 2013.

9. อารยา วรรณโพธิ์กลาง. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ 2556; 28(1)

10. ภัทราภรณ์ หัสดิเสวี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาใช้บริการทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ; 2554.

11. อธิพรรณ นามกระจ่าง. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการคลินิกแพทย์ ของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)