ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่รากฟันเทียม จากโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอภูเวียง-หนองนาคำ–เวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จีระวัฒน์ บุตรโคตร รพ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทันตกรรมรากฟันเทียม, ความพึงพอใจ, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            ความพึงพอใจและความสามารถในการใช้งานของรากฟันเทียมในชีวิตประจำวันทั้งในแง่ของการทำหน้าที่เช่น การบดเคี้ยว การพูดออกเสียง ตลอดจนความสามารถในการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นเป้าหมายสำคัญในการให้บริการใส่รากฟันเทียม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง(Cross-sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่รากฟันเทียม ที่เข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอภูเวียง -หนองนาคำ –เวียงเก่า  จังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่รากฟันเทียมจากโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอภูเวียง -หนองนาคำ - เวียงเก่า  จังหวัดขอนแก่นจำนวน 63 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย(Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่รากฟันเทียมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ61.9),อายุอยู่ระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 54.0)พบว่ามีความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป( = 4.43, SD=0.52) การศึกษาความพึงพอใจของปัจจัยการให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่ความพึงพอใจต่อกระบวนการ / ขั้นตอนการให้บริการ ความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ ความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและความพึงพอใจต่อผลของการให้บริการ พบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจใน ระดับมาก ทุกด้าน และผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่รากฟันเทียมจากโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับดีขึ้นไป เนื่องจากหลังการรับบริการใส่รากฟันเทียม ฟันเทียมไม่หลวมหรือหลุดง่าย ผู้สูงอายุสามารถเคี้ยวอาหารได้ละเอียดขึ้น

References

1.ชมพูนุช พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุประเทศไทย(AgingsocietyThailoand). บทความวิชาการสำนักวิชาการสำนักงานเลขาธการวุฒิสภา. [ออนไลน์]2556[อ้างเมื่อตุลาคม 2558]. จาก http://www.Library.senak.go.th>doerment>Eet6078

2.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปาก ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555 สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา; 2556.

3.พิมพ์วิภา เศรษฐธุ์,ทรงชัย ฐิโสมกุล,ไพฑูรย์ ดวงสดใส. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากและความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปแบบภาษาไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์2557; 64(1):26-46.

4.เศรษฐพล เจริญรักษ์,จิราพร เขียนอยู่,วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน: กรณีศึกษาในเขตอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558: 29(4): 339-344.

5.เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

6.ดนัย ยอดสุวรรณ,มณีรัตน์ กิจชลวัฒน์,ศศิประภา กรรำ,เอกรัตน์ กริ่นกุหลาบ. ประสิทธิภาพการบดเคี้ยว แรงกัด สูงสุดและระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ฟื้นฟูสภาพด้วยฟันเทียมล่าง คร่อมรากฟันเทียม ฟันยิ้ม.วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555: 15(2):69-80.

7.Kuoppala R, Näpänkargas R, Raustia A. MandularOverdenturesEvaluatelWith Oral Health Impact profile (OHIP-14): a Survey y 58 patients. J Oral Maxillofac Res 2013; vol 4(2): 1-6.

8.บังอร กล่ำสุวรรณ์,ปิยนุช เอกก้านตรง,การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและพัฒนานวัตกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุ. วารสารทันตาภิบาล; 2553:21(1):15-25.

9.อังคณา ลีโทชวลิต. ฟันเทียมทับรากฟันเทียมขนาดเล็กหลังผ่าตัดทันทีในขากรรไกร.วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2552; 12(2):82-8.

10.จิตรา โรจน์ขจรนภาลัย. ผู้สูงอายุ:คนที่ควรใส่ใจ.วารสารแพทย์สารทหารอากาศ2556; 59(1): 60-2.

11.จุลเจตน์ เจตเจริญอารยะ. การใส่รากฟันเทียมและครอบฟันในกระดูกว่างบางส่วนที่มีกระดูกบาง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30(3): 230-42.

12.พะยอม อิงคตานุวัตร. พัฒนาการของวัยสูงอายุ.[ออนไลน์]2555 [อ้างเมื่อ22 ตุลาคม2558] จากhttp://g9nurse53.blogspot.com/2012/02/blog-post_22.html

13.ปัทมา ว่าพัฒนาวงศ์,ปราโมทย์ ประสาทกุล. ประชากรไทยในอนาคต. บทความประชากรไทยในอนาคต.
[ออนไลน์]2548[อ้างเมื่อ22 ตุลาคม2558]. จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Download/Article02.pdf

14.สิริพงศ์ กุลสุขรังสรรค์,คมศักดิ์ สินสุรินทร์,มารุต ว่องประเสร็ฐการ. การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ.
บทความการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]2556[อ้างเมื่อ22ตุลาคม2558].
จาก http://www.prorehab2home.com/th/document/Changes%20in%20the%20ederly.pdf

15.อนันต์ จิรวิบูลย์.ทางเลือกใหม่สำหรับผู้สูญเสียฟัน.วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2544; 9(2): 15-18.

16.Fischer KR, Lindner I, Fickl S.Implant treatment in periodontally compromised subjects:quality of life and patient satisfaction. Clin Oral Investig 2016;20(4): 697-702.

17.Tavakolizadeh S, Vafaee F, Khoshhal M. and Ebrahimzadeh Z. Comparison marginal bone loss and
patient satisfaction in single and double-implant assisted mandibular overdenture by immediate
loading. J Advprosthodont 2015; 7(3): 191-198.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)