ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจํากลาง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ผู้ต้องขังบทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจํากลาง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ต้องขังเรือนจำนวน 245 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้ เจตคติ และ การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมทั้งแบบวัดผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.79 0.76 0.74 และ0.93 ตามลำดับใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับตํ่าร้อยละ 73.1 เจตคติในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูงร้อยละ50.2 การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.2 ผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเองอยู่ในระดับไม่ดี และ มีผลกระทบกระเทือนบ้างกับการทำกิจวัตรประจําวันร้อยละ38.9 และร้อยละ 40.8 ตามลำดับนอกจากนี้สองในสามของผู้ต้องขังไม่เคยได้รับบริการทันตกรรมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาด้านความสัมพันธ์พบว่าความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อยกับเจตคติและการปฏิบัติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( 12rs"> =0.13: p-value = 0.046และ 12rs"> = 0.20: p-value = 0.002ตามลำดับ) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกับผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังพบว่า มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ5
สรุป ทันตบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องควรมีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากแก่ผู้ต้องขังการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก และให้บริการทันตกรรมเชิงรุกอันจะเป็นการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังให้ดีขึ้น
References
2. จุรีรัตน์ ทะนงศักดิ์สกุล และพลินี เดชสมบูรณ์รัตน์. การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของผู้ต้องขังชายในทัณฑสถานบำบัดพิเศษ จังหวัดปทุมธานี ว.ทันต2551; (58):255-262.
3. กรมราชทัณฑ์. สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557] จาก http://www.correct.go.th/stat102/display/result_pdf.php?date=2009-01-01
4. กรมราชทัณฑ์. สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557] จาก http://www.correct.go.th/stat102/display/result_pdf.php?date=2014-01-01
5. Mixson J M,Eplee H C, Feil P H, Jones J J,andRico M. Oral health status of a federal prison population. J Public Health Dent1990;50(4):257-261.
6. กมลชนก ทองเอียด.พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยบางประการในผู้ถูกควบคุมชายศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.
7. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ. ปัญหาสุขภาพผู้ต้องขัง.. [ออนไลน์] 2559. [อ้างเมื่อ 30 ธันวาคม2559] จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/400416
8. สิริวุฒิ รวีไชยวัฒน์. คุมโรคแดนคุก ดูแลสุขภาพผู้ต้องขัง. 2559. [อ้างเมื่อ 15 กันยายน2559] จาก http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9590000092678
9. ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์. ความผิดปกติทางจิตเวชของผู้ต้องขัง: การศึกษาในเรือนจำเขตกรุงเทพมหานครและเรือนจำกลางบางขวาง.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2545;10(2):77-88.
10. บุญเอื้อ ยงวานิชากร และปิยะดา ประเสริฐสม. ความสัมพันธ์ของปัจจัยสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2554;16(1):57-74.
11. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
12. ชมนาด วรรณพรศิริ และนิดา มาด้วง. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ของผู้ต้องขัง ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2552;3(1):8-17.
13. อรวรรณ นามมนตรี. คุณภาพเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในประชากรวัยผู้ใหญ่ (OHIP-14) จังหวัดขอนแก่นประเทศไทย.ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2557.
14. สำนักทันตสาธารณสุข. ปัจจัยความเสี่ยงของการเกิดโรคในช่องปาก. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 30 มกราคม 2559]. จากhttp://dental.anamai.moph.go.th/elderly/happysmile/book1/fam101.html
15. สุพัฒน์ จำปาหวาย อมร วัฒนธีรางกูร และยลฤดี ตัณฑสิทธิ์. ปัญหาสุขภาพและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2559.
16. อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท.การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ.พิมพ์ครั้งที่ 6กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
17. จิรนันท์อาษาพนม วิทัศน์ จันทรโพธ์ศรี. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภสพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ2556 6(2);. 162-171.
18. กัญญารัตน์ พรรณโส. ความคิดเห็นของผู้ติดยาเสพติดต่อการบำบัดรักษา: กรณีศึกษาศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2542.
19. ดาว สิงห์ทอง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ ในโรงพยาบาลชัยบาดาล ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาลดาล จังหวัดลพบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.
20. รพีพรรณ ปุ้งมา, อรวรรณ นามมนตรี, จุฬนาริน วิทยวรรณกุล.คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของประชากรวัยผู้ใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;. 2556.
21. ปรางทิพย์ โพธิวิรัตนานนท์.ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยทันตกรรมที่มีความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้าในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล