การพัฒนาการส่งเสริมทันตสุขภาพในลักษณะเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลทรายมูล-หนองกุง โดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤตา ผลอ้อ โรงพยาบาลน้ำพอง จ.ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทันตสุขภาพ, เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี, การมีส่วนร่วม, การพัฒนาเครือข่าย

บทคัดย่อ

        โรคฟันผุและเหงือกอักเสบเป็นปัญหาสำคัญในเด็กประถมศึกษาเพราะเป็นช่วงวัยที่ฟันแท้เริ่มขึ้นและเป็นวัยที่เหมาะในการสร้างนิสัย รวมทั้งสุขภาพเด็กเป็นปัจจัยพื้นฐานของความพร้อมด้านการเรียนรู้โดยมีโรงเรียนเป็นพื้นที่หลักของการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนใน 7 โรงเรียน มีนักเรียน 970 คนผู้บริหาร 7 คน คณะครู 78 คน และชุมชน 2 ตำบล จาก ตุลาคม 2557 ถึง ธันวาคม 2559  วิธีดำเนินการประกอบด้วย (1)การวางแผนอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้การประชุมระดมแนวคิดเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน(F.S.C) และกระบวนการ AIC  (2)การปฏิบัติตามแผนที่ได้ในโรงเรียนและชุมชน (3)การสังเกตผลโดยนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและและข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา (4) การสะท้อนข้อมูล ในเวทีประชุมเครือข่ายต่อเนื่อง

         ผลการศึกษา เกิดคณะทำงานเครือข่ายที่มีนโยบายวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนปฏิบัติการและพันธะสัญญาร่วมกัน ครู ผู้นำนักเรียน อสม.มีศักยภาพเพิ่มขึ้น มีการบูรณาการเรื่องทันตสุขภาพในกลุ่มสาระวิชา             เกิดโครงการนวัตกรรม เช่น  สูตรสำเร็จฟันสะอาดเหงือกแข็งแรง 2x2x2x2   ละครสั้นสานฟันดี  ตลาดนัดสีเขียว สหการประสานใจห่วงใยสุขภาพ  น้ำดื่มสุขภาพ  ดื่มนมฟลูออไรด์ 5 ด.  จักรยานต้านฟันผุ  เคาะประตูแปรงฟัน วันหยุดเราไม่หยุดแปรงฟัน เมนูสุขภาพ เป็นต้น ท้องถิ่นสนับสนุน ชุมชนร่วมขับเคลื่อนนโยบายงานบุญปลอดน้ำอัดลม เกิดระบบบริการทันตกรรมรองรับ นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและก่อนนอนเพิ่มเป็นร้อยละ94.36 และ 85.12   กินของว่างรสหวานไม่เกิน 2 ครั้งต่อวันเพิ่มเป็นร้อยละ 87.22 มีเหงือกปกติเพิ่มเป็นร้อยละ 89.17  ไม่มีฟันผุเพิ่มเป็น ร้อยละ 78.24 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมคือ ภาคีกำหนดวิสัยทัศน์และแผนพัฒนาเครือข่ายร่วมกัน ผู้นำเข้มแข็ง การลงมือปฏิบัติ การประชุมสะท้อนข้อมูล ติดตามและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2556.

2. ณัฐกฤตา ผลอ้อ. รายงาน ท01 02 ปี 2551 – 2558 เครือข่ายบริการสุขภาพน้ำพอง. ขอนแก่น:โรงพยาบาลน้ำพอง; 2558.

3. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลน้ำพอง. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนพื้นที่ตำบล ทรายมูลตำบลหนองกุง ปี 2556 – 2559. ขอนแก่น: โรงพยาบาลน้ำพอง; 2559.

4. อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี. แนวคิดพื้นฐานของการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ จากกฎบัตรออตตาวา สู่กฎบัตรกรุงเทพ และข้อเสนอเบื้องต้นต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก. เชียงใหม่ทันตสาร.2548; 26(1-2): 37-48.

5. Kelly Lee. การสร้างเสริมสุขภาพโลก สรุปการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลก ครั้งที่ 6 วันที่ 7-11 สิงหาคม 2548 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร.

6. สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, ผู้แปล : พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด 2556: 38-45.

7. จุฑารัตน์ รัศมีเหลืองอ่อน ประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายเด็กไทยฟันดี อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง พ.ศ.2551-2555. ว.ทันต.สธ. 2557; 19(2) : 63- 74.

8. Kemmis S.and Mc Taggart.R., The Action Research Planner (Third Edition 1988). Victoria: Deakin University Press , 1982.

9. ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม, โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น. 2543; 163-194.

10. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ;2555 [อ้างเมื่อ 16 เมษายน 2560] จาก http://203.157.71.148/kpr/KPR2556/report_6%20month/kpi%201.9.files/4.เกณฑ์พัฒนาเครือข่ายเด็กไทยฟันดีระดับประเทศ.pdf

11. สุวรรณา เอื้ออรรถการุน. รายงานสถานการณ์การบริโภคอาหารว่างและเครื่องดื่ม การดูแลสุขภาพช่องปากและสภาวะทันตสุขภาพของเยาวชนในโรงเรียนมัธยมศึกษา; 2556.

12. Warren JJ, Levy SM, Kanellis MJ. Dental caries in the primary dentition: assessing prevalence of cavitated and noncavitated lesions. J Public Health Dent 2002;62: 109-14.

13. กฤษฎา สมประสงค์. THAITOPIC KT5512 กระบวนการและเทคนิคการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน. [อ้างเมื่อ 12 กรกฏาคม 2556] จาก https://www.youtube.com/watch?v=prieyJaX-Cc

14. วัฒนา ทองปัสโณว์. ผลการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2551 -2555. ว.ทันต.สธ. 2558; 20(1): 49-58.

15. สุขจิตตรา วนาภิรักษ์. การประเมินผลการดำเนินงานเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดแพร่. ว.ทันต.สธ. 2543 ;5(1-2): 7-8.

16. จอนสัน พิมพิสาร.การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพเด็กเล็ก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. ว.ทันต.สธ. 2557; 13(3) : 72-9.

17. จินดา พรหมทา.พัฒนาการการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษา ตามโครงการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ของอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. ว.ทันต.สธ. 2559; 21(1): 80-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)