ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอนการประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อุ่นใจ เครือสถิตย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • อัจฉรา กิตติวงศ์วิสุทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน, รูปแบบการสอน, พนักงานฉุกเฉินการแพทย์

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอน การประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ โดย ระยะที่ 1 ศึกษาบริบท จากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้เรียน ใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และสุ่มแบบบังเอิญจำนวน 10 คน ระยะที่ 2 สำรวจสภาพความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอน 5 ด้าน
กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ทุกคนรวม 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบดังนี้

          ระยะที่ 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์  เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นตามความต้องการของสังคม การเรียนการประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษานำไปให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งเนื้อหาดังกล่าว มีความยาก ซับซ้อน และพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้ มีคะแนนการสอบคัดเลือก อยู่ระหว่าง 2001 – 3000  จาก 10000 คะแนน ผู้เรียนมีเวลาทบทวนความรู้น้อย มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรมาก และผลการสอบผ่านภาคทฤษฎีของการสอบกลางภาค และปลายภาค ครั้งแรก ผ่านเพียงร้อยละ 33.33 และ 6.67 ตามลำดับ

           ระยะที่ 2 สภาพปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการสอน มีสภาพปัญหาโดยภาพรวมทั้งหมด อยู่ในระดับน้อยที่สุด = 1.79, SD. = 0.12; ด้านรูปแบบและการจัดกิจกรรมการสอนและด้านอาจารย์ผู้สอนทุกหัวข้อ อยู่ในระดับน้อยที่สุด ภาพรวม = 1.08, SD. = 0.08   และ = 1.11, SD. = 0.15 ตามลำดับ ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และด้านการวัดและประเมินผล  ทุกหัวข้อ อยู่ในระดับน้อย ภาพรวม = 2.01, SD. = 0.52 และ = 2.16, SD. = 0.47 ตามลำดับ ด้านผู้เรียนโดยรวม มีสภาพปัญหาในระดับมาก = 4.05, SD. = 0.44

             สรุปผลการวิจัย สภาพความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการสอนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ มีสภาพปัญหาโดยรวมในระดับน้อยที่สุด ด้านรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมแล้ว ขณะที่ด้านผู้เรียนพบปัญหาในระดับมาก ไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ ดังนั้นผู้สอนต้องพัฒนาผู้เรียนโดยมุ่งเน้นให้เกิดสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย และเน้นให้มีการทำงานเป็นทีม และให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ในทีมปฏิบัติการ ผู้สอนต้องการกระตุ้นให้มีการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและเชื่อมโยงความรู้ ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงให้มากที่สุด ตลอดจนให้ผู้เรียนมีเวลาทบทวนการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะสม

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานศูนย์ประสานเยียวยาผู้ประสบภัย สำนักนายยกรัฐมนตรี; 2556.

2. ประจักษวิช เล็บนาถ. รายงานประจำปี 2554 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ชั้นสอง อาคารกองวิศวกรรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

3. Joyce B,Weil M and Calhoun E. Model of Teaching. 8 eds. Boston: Pearson; 2010.

4. อัจฉรา กิตติวงศ์วิสุทธิ์. วิจัยสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกทักษะปฏิบัติการฉุกเฉิน. (เอกสารอัดสำเนา); 2554.

5. สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. (เอกสารอัดสำเนา); 2556.

6. สถาบันพระบรมราชชนก สรุปผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เวชกิจฉุกเฉิน ปีการศึกษา 2557 (เอกสารอัดสำเนา); 2557.

7. สถาบันพระบรมราชชนก. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เวชกิจฉุกเฉิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549. โครงการตำราสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข; 2549.

8. Ausubel DP. Educational Psychology : A Cognitive View. New York : Holt- Rinehart and Winston.; 1968.

9. Taba H. Curriculum Development: Theory and Practice, USA: Harcourt, Inc.; 1962.

10. Tyler RW. Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.; 1950.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)