การพัฒนาตัวชี้วัดประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในโครงการรับยาที่ร้านยาบริบทเครือข่ายโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปฐวี เดชชิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • สรัญญา สุนันต๊ะ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1

คำสำคัญ:

โรงพยาบาล, ร้านยา, ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการลดความแออัดโดยลดดระยะเวลาการรอรับยาที่โรงพยาบาลของผู้ป่วยให้มารับยาที่ร้านยาเครือข่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 แต่การศึกษาก่อนหน้าที่ประเมินผลโครงการยังมีขอจำกัดของการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับประเมินประสิทธิภาพใน 4 ด้าน ได้แก่ ต้นทุน เวลา ความน่าเชื่อถือ และศักยภาพ

วัตถุประสงค์: เพื่อออกแบบตัวชี้วัดประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโครงการนี้ของโรงพยาบาลและร้านยา

วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างและสังเกตการปฏิบัติงานจริงจากเภสัชกรโรงพยาบาล 2 คน และเภสัชกรร้านยา 4 คน ที่มีส่วนร่วมกับโครงการในบริบทเครือข่ายโรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง แล้วถอดแบบแผนผังกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแบบเก็บข้อมูลจากการสังเกตการปฏิบัติงานจริง แล้วเลือกระบุตัวแปรสำหรับใช้วิเคราะห์ตัวชี้วัดสำหรับประเมินโครงการให้เภสัชกรกลุ่มเดิมประเมินการยอมรับในความสมเหตุผลและความสามารถในการใช้จริง

ผลการวิจัย: การวิเคราะห์แผนผังกระบวนการปฏิบัติงาน พบว่า สามารถออกแบบตัวชี้วัดสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของโครงการและความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูล แบ่งออกเป็นประสิทธิภาพการทำงานของโรงพยาบาลสามารถกำหนดได้ 9 ตัวชี้วัดใน 3 ด้าน ได้แก่ ต้นทุน ความน่าเชื่อถือ และศักยภาพ และประสิทธิภาพการทำงานของร้านยากำหนดได้ 5 ตัวชี้วัดใน 3 ด้าน ได้แก่ เวลา ความน่าเชื่อถือ และศักยภาพ เภสัชกรผู้ร่วมให้ข้อมูลทั้งหมดในการศึกษานี้ยอมรับความสมเหตุผลของการใช้ตัวชี้วัดจากข้อมูลการปฏิบัติงานประจำได้จริง

สรุปผล: ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากงานประจำที่มีอยู่ในระบบบริการสามารถใช้แสดงประสิทธิภาพของโครงการได้ เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานทั้งโรงพยาบาลและร้านยายอมรับความสมเหตุผลของตัวชี้วัดที่เลือกมา เพราะตัวชี้วัดดังกล่าวน่าเชื่อถือ มีความตรง รวมทั้งไม่มีต้นทุนเพิ่ม

Author Biographies

นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภ.บ., ภ.บ.(บริบาลเภสัชกรรม), วท.ด. (เภสัชศาสตร์)

ปฐวี เดชชิต, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภ.บ.(บริบาลเภสัชกรรม)

สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ภ.บ., ภ.ม.(เภสัชกรรมคลินิก)

สรัญญา สุนันต๊ะ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1

ภ.บ.

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. 235 หน้า. สืบค้นจาก: https://e-library.nhso.go.th/assets/portals/1/ebookcategory/11_annualreport2019-1/annualreport2019-1/

ปริตรา มั่นเหมาะ, ธนัญญา วสุศรี. การจำลองสถานการณ์เพื่อลดเวลารอคอยของผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2562;15(2):51-62. doi: 10.14456/ijps.2019.20.

นุศราพร เกษสมบูรณ์, วรรณี ชัยเฉลิมพงษ์, อรนุช ทองจันดี, สุกัณฑา หมวดทอง, กิตติยา ปิยะศิลป์, นิสรา ศรีสุระ. การประเมินผลเชิงพัฒนา (developmental evaluation) โครงการนำรองผูปวยรับยาที่รานยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลจังหวัดขอนแกน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5463

รังสรรค์ ศรีภิรมย์, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, ภานุมาศ ภูมาศ, สุมนต์ สกลไชย, กรแก้ว จันทภาษา, สุพล ลิมวัฒนานนท์, และคณะ. การดูแลรักษาพยาบาลตนเองของประชาชนไทยโดยการซื้อยาจากร้านขายยาแผนปัจจุบัน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4773

isranews. วันแรก “ผู้ป่วยรับยาใกล้บ้าน” 35 โรงพยาบาล 300 ร้านยา ร่วมลดความแออัด รพ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักข่าวอิศรา; 2562 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://www.isranews.org/content-page/item/81062-isranews-81062.html

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สปสช.เดินหน้ารับยาใกล้บ้าน “โมเดล 3” ดีเดย์เริ่ม 1 ก.ย. นี้ เต็มรูปแบบ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://www.nhso.go.th/news/2838

รุ่งนภา คำผาง, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, พัทธรา ลีฬหวรงค์, อารยา ญาณพิบูลย์, กุนที พลรักดี, อรรถวิทย์ ยางธิสาร, และคณะ. การประเมินโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5445

เว็บไซต์ Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. สปสช.เผยโครงการรับยาใกล้บ้านทะลุเป้า ลดความแออัดใน รพ. 10-20% [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ท.: สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ; 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://www.hfocus.org/content/2020/08/20007

สุวัชชัย ชื่นเมืองปักษ์. เอกสารการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแหงชาติ ครั้งที่ 9/2562 วันที่ 02 ก.ย. 62 เลขที่ประชุม 3 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ; 2562 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://www.nhso.go.th/board_resolution/1234

Deniston OL, Rosenstock IM, Welch W, Getting VA. Evaluation of program efficiency. Public Health Rep (1896). 1968;83(7):603-10. PMID: 4969692; PMCID: PMC1891877.

Centers for Disease Control and Prevention. Office of Policy, Performance, and Evaluation. Program evaluation [Internet]. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention; 2023 [updated 2023 Mar 10, cited 2023 Jul 28]. Available from: https://www.cdc.gov/evaluation/index.htm

อรอนงค์ เหล่าตระกูล. ความสำเร็จของโครงการรับยาใกล้บ้านตามมาตรการบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ในจังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565];40(2):283-94. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/251837

ระพีพรรณ ฉลองสุข, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, วิชัย สันติมาลีวรกุล. การศึกษาเปรียบเทียบระบบบริการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่โรงพยาบาลกับที่ร้านยาคุณภาพ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2550. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/88

วิลาวัณย์ ทุนดี, ปวิตรา พูลบุตร, สายทิพย์ สุทธิรักษา, ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ, ปาริโมก เกิดจันทึก, สมคิด เจนกลาง, และคณะ. การบริบาลทางเภสัชกรรมและจ่ายยาต่อเนื่องสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ในร้านยามหาวิทยาลัย. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2565];9(1):192-203. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169853

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2023