ประสิทธิผลของการใช้ Sedation Protocol ต่อความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาแบบอัตราส่วน และการเกิด Unplanned Extubation ในหอผู้ป่วยวิกฤต

ผู้แต่ง

  • ชาตรี ปันอิน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท

คำสำคัญ:

ความคลาดเคลื่อนทางยา, ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน, sedation protocol

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: พบรายงานความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้และบริหารยาฉีด fentanyl และ midazolam ที่ใช้แบบอัตราส่วนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ พยาบาลผู้ปฏิบัติงานประสบปัญหาการแปลความหมายคำสั่งใช้ยาดังกล่าวเนื่องจากยังไม่มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจน โดยหอผู้ป่วยวิกฤตมีสัดส่วนการใช้ยาดังกล่าวมากที่สุดในโรงพยาบาล และยังพบว่าเกิดเหตุการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผนในอัตราที่สูงกว่าเป้าหมาย จึงได้พัฒนา sedation protocol ขึ้นซึ่งคาดว่าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ sedation protocol ต่อการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา อัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน และความพึงพอใจของแพทย์และพยาบาลในการใช้ sedation protocol

วิธีวิจัย: การศึกษาแบบกึ่งทดลอง เก็บข้อมูลในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 - 15 กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Fisher’s exact test และ Chi-squared test

ผลการวิจัย: ภายหลังการใช้ sedation protocol พบว่าความคลาดเคลื่อนทางยาชนิด prescribing error และ administration error ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 2.68 (9/336) เป็นร้อยละ 0 (0/527) (p-value < 0.001) อัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผนในหอผู้ป่วยวิกฤตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 13.19 (15.67 ครั้ง ต่อ 1,000 วันอุปกรณ์) เป็นร้อยละ 2.70 (2.43 ครั้ง ต่อ 1,000 วันอุปกรณ์) (p-value < 0.016) ร้อยละ 96.00 ของแพทย์และพยาบาล (n=50) มีคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้ sedation protocol ในระดับ ≥4 (ค่าเฉลี่ย=4.34/5, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.56)

สรุปผล: การใช้ sedation protocol สามารถช่วยป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาแบบอัตราส่วนและช่วยลดการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผนในหอผู้ป่วยวิกฤตได้ โดยแพทย์และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้ sedation protocol

Author Biography

ชาตรี ปันอิน , กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท

ภ.บ. (บริบาลเภสัชกรรม)

References

Reade MC, Finfer S. Sedation and delirium in the intensive care unit. N Engl J Med. 2014; 370(5):444-54. doi: 10.1056/NEJMra1208705.

Stein-Parbury J, McKinley S. Patients’experiences of being in an intensive care unit: a select literature review. Am J Crit Care. 2000;9(1):20-7. PMID: 10631387.

Barr J, Fraser GL, Puntillo K, Puntillo K, Ely EW, Gélinas C, et al. Clinical practice guidelines for the management of pain, agitation, and delirium in adult patients in the intensive care unit. Crit Care Med. 2013;41(1):263-306. doi: 10.1097/CCM.0b013e3182783b72.

Fraser GL, Prato BS, Riker RR, Berthiaume D, Wilkins ML. Frequency, severity, and treatment of agitation in young versus elderly patients in the ICU. Pharmacotherapy. 2000;20(1):75-82. doi: 10.1592/phco.20.1.75.34663.

da Silva PS, Fonseca MC. Unplanned endotracheal extubations in the intensive care unit: systematic review, critical appraisal, and evidence-based recommendations. Anesth. Analg. 2012;114(5):1003-14. doi: 10.1213/ANE.0b013e31824b0296.

สมจิตต์ แสงศรี. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่)]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

Patel SB, Kress JP. Sedation and analgesia in the mechanically ventilated patient. Am J Respir Crit Care Med. 2012;185(5):486-97. doi: 10.1164/rccm.201102-0273CI.

Huang YT. Factors leading to self-extubation of endotracheal tubes in the intensive care unit. Nurs Crit Care. 2009;14(2):68-74. doi: 10.1111/j.1478-5153.2008.00320.x.

มังกร ประพันธ์วัฒนะ. การจัดการยาที่ต้องระมัดระวังสูง. ใน: มังกร ประพันธ์วัฒนะ, บรรณาธิการ. ระบบยาเพื่อความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2553. หน้า 259-86.

ฐิติมา ด้วงเงิน, ชานนท์ หนูสวัสดิ์, ศุภาพิชญ์ สกุลเวช. ความเข้าใจคำสั่งใช้ยาแบบอัตราส่วนในกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพและการคำนวณเพื่อเตรียมยาตามคำสั่งใช้ยา. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 17 ก.ค. 2566];8(1):128-38. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169707

อภิฤดี เหมะจุฑา. ความปลอดภัยในการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อ 17 ก.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=275

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). กรอบงานพื้นฐานระบบยา. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2563.

Laselle TJ, May SK. Medication orders are written clearly and transcribed accurately - implementing medication management standard 3.20 and national patient safety goal 2b. Hosp Pharm. 2010;41(1):82-7. doi: 10.1310/hpj4101-82.

ณัฐนิชา กลับสุวรรณ์. ความคลาดเคลื่อนทางยาและการแก้ไขปัญหาของการใช้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่:คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

ฉัตรสุดา จำรัส, ขนิษฐา แก้วพรม, สายพิณ โสภารัตนากูล, เทวัญ ยอดยิ่ง, นราวิชญ์ เหล่ากาวี. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 17 ก.ค. 2566];30(2):43-55. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/12848/10812

มณีนุช สุทธสนธิ์, ขนิษฐา แก้วกัลยา, วาสนา นัยพัฒน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยอาการหนักที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 17 ก.ค. 2566];10(2):58-70. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/122507

สมพร นรขุน, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 17 ก.ค. 2566];27(1):72-84. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/69766

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2023