บทบาทเภสัชกรกับการจัดการปัญหาทางยาในคลินิกโรคมะเร็งชนิดก้อนของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ปัญหาทางยา, ยารักษามะเร็ง, บทบาทของเภสัชกร, คลินิกโรคมะเร็งบทคัดย่อ
บทนำ: เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยมะเร็งร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยมากที่สุด
วัตถุประสงค์: วิเคราะห์ชนิดของปัญหาทางยา สาเหตุของปัญหา การจัดการปัญหาทางยาโดยเภสัชกร อัตราการยอมรับจากแพทย์ และความมีนัยสำคัญทางคลินิกต่อการจัดการปัญหาทางยาของเภสัชกร
วิธีการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังโดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยที่เข้ารับยารักษามะเร็ง ณ อาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2565 ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ชนิดของปัญหาทางยา การแก้ไขปัญหาโดยเภสัชกร การยอมรับจากแพทย์และความมีนัยสำคัญทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอเป็น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบปัญหาทางยาอย่างน้อย 1 ครั้งในผู้ป่วย 590 ราย จำนวน 909 ครั้ง ด้านความปลอดภัยเป็นปัญหาหลักที่พบ (ร้อยละ 96.6) โดยส่วนใหญ่เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการออกฤทธิ์ของยา (ร้อยละ 82.2) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยได้แก่ ปลายประสาทอักเสบ (ร้อยละ 17.7) อาการมือและเท้าผิดปกติ (ร้อยละ 15.1) และภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (ร้อยละ 8.4) เภสัชกรให้คำปรึกษากับผู้ป่วยร้อยละ 80.5 จัดการอาการไม่พึงประสงค์ร่วมกับแพทย์ร้อยละ 15.2 ปัญหาด้านประสิทธิผลการรักษาทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (ร้อยละ 1.8) เกิดจากการรับประทานยาน้อยกว่าปกติ ไม่รับประทานยาหรือได้รับคำแนะนำข้อมูลไม่ครบถ้วน โดยรวม เภสัชกรให้คำแนะนำและปรับเปลี่ยนฉลากยา โดยทำงานร่วมกับแพทย์ การแก้ไขปัญหาได้รับการยอมรับจากแพทย์ ร้อยละ 94.7 และสามารถป้องกันพิษต่ออวัยวะสำคัญได้ (ร้อยละ 79.6)
สรุป: เภสัชกรมีหน้าที่ติดตาม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยจากยาเคมีบำบัด การให้ข้อมูล ทบทวนรายการยา และคำแนะนำเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดจึงถือเป็นบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด
References
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 36 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2564 [สืบค้นเมื่อ 14 เม.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https:// www.nci.go.th/e_book/hosbased_2563/files/main.pdf
สุภัสร์ สุบงกซ, มานิตย์ แซ่เตียว, และสุธาร จันทะวงศ์. เภสัชกรรมปฏิบัติในโรคมะเร็ง (Oncology pharmacy practice). พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย); 2560.
สมพร ศักดิ์ชินบุตร. ผลของการให้ความรู้และคำปรึกษาโดยเภสัชกรคลินิกแก่ผู้ป่วยนอกโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
สันติ หวังกีรติกานต์, พัชฎาพร เสาทอง, มนฑิกาญจน์ หอสูติสิมา, รังสฤษดิ์ ไชยพรรค. บทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 14 เม.ย. 2566];30(2):121-33. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/120391
จันทิมา ชูรัศมี. ความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 14 เม.ย. 2566];11(4):743-53. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/193867
Alexander M, Jupp J, Chazan G, O'Connor S, Chan A. Global oncology pharmacy response to COVID-19 pandemic: medication access and safety. J Oncol Pharm Pract. 2020;26(5):1225-9. doi: 10.1177/1078155220927450.
Alshamrani M, AlHarbi A, Alkhudair N, AlNajjar F, Khan M, Obaid AB, et al. Practical strategies to manage cancer patients during the COVID-19 pandemic: Saudi Oncology Pharmacy Assembly Experts recommendations. J Oncol Pharm Pract. 2020;26(6):1429-40. doi: 10.1177/1078155220935564.
Cortiula F, Pettke A, Bartoletti M, Puglisi F, Helleday T. Managing COVID-19 in the oncology clinic and avoiding the distraction effect. Ann Oncol. 2020;31(5):553–5. doi: 10.1016/j.annonc.2020.03.286.
Oliveira CS, Silva MP, Miranda ÍKSPB, Calumby RT, De Araújo-Calumby RF. Impact of clinical pharmacy in oncology and hematology centers: a systematic review. J Oncol Pharm Pract. 2021;27(3):679–92. doi: 10.1177/1078155220976801.
Roger S, Edeline J, Campillo-Gimenez B, Ventroux E, Rouge-Bugat ME, Chapron A. Adverse events of targeted therapies reported by patients with cancer treated in primary care. Eur J Gen Pract. 2020;26(1):202-9. doi: 10.1080/13814788.2020.1846713.
Du R, Wang X, Ma L, Larcher LM, Tang H, Zhou H, et al. Adverse reactions of targeted therapy in cancer patients: a retrospective study of hospital medical data in China. BMC cancer. 2021;21(1):206. doi: 10.1186/s12885-021-07946-x
Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd edition. New York: HarperCollins Publishers; 1973.
Hepler CD, Strand LM. Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm. 1990;47(3):533-43. PMID: 2316538.
Schindler E, Richling I, Rose O. Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) drug-related problem classification version 9.00: German translation and validation. Int J Clin Pharm. 2021;43(3):726-30. doi: 10.1007/s11096-020-01150-w
World Health Organization. Safety of medicines, a guide to detecting and reporting adverse drug reactions [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2002 [cited 2023 April 14]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/67378/WHO_EDM_QSM_2002.2.pdf?sequence=1
โพยม วงศ์ภูวรักษ์. ความหมาย ประเภท และกลไกการเกิด ADR. ใน: ธิดา นิงสานนท์, จันทิมา โยธาพิทักษ์, บรรณาธิการ. ตรงประเด็นเรื่อง Adverse Drug Reaction. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2549. หน้า 2-6.
Morillo-Verdugo R, Calleja-Hernández MÁ, de Las Aguas Robustillo-Cortés M. A new pharmaceutical care concept: more capable, motivated, and timely. Hosp Pharm. 2019;54(6):348-50. doi: 10.1177/0018578719867657.
Wong SW and Gray ES. Clinical pharmacy services in oncology clinics. J Oncol Pharm Pract. 1999;5(1):49-54. doi: 10.1177/107815529900500104.
Schmoll HJ, Cartwright T, Tabernero J, Nowacki MP, Figer A, Maroun J, et al. Phase III trial of capecitabine plus oxaliplatin as adjuvant therapy for stage III colon cancer: a planned safety analysis in 1,864 patients. J Clin Oncol. 2007;25(1):102-9. doi: 10.1200/JCO.2006.08.1075.
Ribed A, Romero-Jiménez RM, Escudero-Vilaplana V, Iglesias-Peinado I, Herranz-Alonso A, Codina C, et al. Pharmaceutical care program for onco-hematologic outpatients: safety, efficiency and patient satisfaction. Int J Clin Pharm. 2016;38(2):280-8. doi: 10.1007/s11096-015-0235-8.
Galateanu B, Puscasu AI, Tircol SA, Tanase BC, Hudita A, Negrei C, et al. Allergy in cancer care: antineoplastic therapy-induced hypersensitivity reactions. Int J Mol Sci. 2023;24(4):3886. doi: 10.3390/ijms24043886.
Schlichtig K, Dürr P, Dörje F, Fromm MF. Medication errors during treatment with new oral anticancer agents: consequences for clinical practice based on the AMBORA study. Clin Pharmacol Ther. 2021;110(4):1075-86. doi: 10.1002/cpt.2338.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ