ผลของการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาในผู้ป่วยโรคหืดที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
ความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา, ยาพ่น, โรคหืดบทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา: ยาสูดพ่นเป็นยาที่มีการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาระบบผู้ป่วยในมากที่สุดในกลุ่มยาเทคนิคพิเศษ เนื่องจากมีวิธีใช้ค่อนข้างซับซ้อน อีกทั้งผู้ป่วยมักไม่นำยาเดิมมาโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพบความคลาดเคลื่อนทางยา และค่าใช้จ่ายยาสูดพ่นที่ประหยัดได้ กรณีเภสัชกรให้บริการการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา และสำรวจผลลัพธ์จากบริการการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา ศึกษาพฤติกรรมและเหตุผลการนำ/ไม่นำยาสูดพ่นเดิมมาด้วยเมื่อผู้ป่วยมาโรงพยาบาล และศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริบาลทางเภสัชกรรม
วิธีวิจัย: การศึกษาแบบผสมผสาน ในผู้ป่วยโรคหืดที่รับบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวารินชำราบ ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 39 คน เภสัชกรมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา คัดกรองความคลาดเคลื่อนทางยาและปัญหาจากการใช้ยาบนหอผู้ป่วย ศึกษาการประหยัดค่าใช้จ่ายยาสูดพ่น ความสมบูรณ์ของกระบวนการ และสาเหตุการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วย
ผลการวิจัย: ความคลาดเคลื่อนทางยาแรกรับและกลับบ้านส่วนใหญ่ คือ administration error และ prescribing error ตามลำดับ การมีส่วนร่วมของเภสัชกรบนหอผู้ป่วยทำให้พบความคลาดเคลื่อนทางยามากกว่าระบบปกติก่อนทำการศึกษา กิจกรรมนี้ประหยัดค่าใช้จ่ายยาสูดพ่น 19,109 บาท การสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาใน 24 ชั่วโมง บรรลุเป้าหมายร้อยละ 94.9 โดยร้อยละ 76.9 แพทย์สั่งยาเดิมตั้งแต่แรกรับ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยเฉลี่ย 102.36±76.52 บาท/ครั้ง ผู้ป่วยร้อยละ 48.7 ไม่นำยาเดิมมา เนื่องจาก รีบเร่ง ไม่คิดว่าจะได้นอนโรงพยาบาล และเคยนำมาแล้วบุคลากรไม่เคยขอดู ผู้ป่วยต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้ยาสูดพ่นร่วมกับยาพ่นละอองฝอยระหว่างนอน และยาใช้ได้หลอดละกี่ครั้ง
บทสรุป: การมีส่วนร่วมของเภสัชกรบนหอผู้ป่วยทำให้พบความคลาดเคลื่อนทางยาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้มากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายยาสูดพ่นจากการใช้ยาเดิมของผู้ป่วย และการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาภายใน 24 ชั่วโมง บรรลุเป้าหมายของโรงพยาบาล โดยข้อมูลสะท้อนกลับของผู้ป่วยนำมาสู่การปรับปรุงฉลากยาสูดพ่นของโรงพยาบาล
References
จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. Medication Reconciliation ผ่านแนวคิด 3P (Purpose-Process-Performance) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2561 [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option= article_detail&subpage=article_detail&id=469
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://backend.ha.or.th/fileupload/DOCUMENT/00148/77c77e3f-ed2f-41a9-90d4-22164a69a871.pdf
อนัญญา สองเมือง, ธนัฎชา สองเมือง. การบริบาลทางเภสัชกรรมแบบเชิงรุกบนหอผู้ป่วย ในผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข. รอตีพิมพ์ 2568.
กัญญามาส จีนอนันต์, อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา, กรแก้ว จันทภาษา, ธิดา นิงสานนท์. การดำเนินงานการประสานรายการยากรณีผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรัฐในเขตสุขภาพที่ 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;13(4):11-23. doi: 10.14456/ijps.2017.23.
สมาพร สันถวะสกุล, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. กระบวนการพัฒนาการประสานรายการยา (medication reconciliation) งานบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];9(3):33-46. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/260826
สมสกุล ศิริไชย, กฤชสุรีย์ กมลาไสย, วาทินี กัลจุฬากรานนท์, อภิชา ฤทธิเกษม, อติพร ชูเอียด. การประเมินระบบการประสานเปรียบเทียบรายการยา ณ โรงพยาบาลเลิดสิน. วารสารกรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ค. 2566];42(6):81-7. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/248417
ศิริรัตน์ ไสไทย, โพยม วงศ์ภูวรักษ์. ผลของกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];5(1):2-15. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169315
จักรี แกวคําบง. ผลของกระบวนการ medication reconciliation ในหอผูปวยในของโรงพยาบาลชุมชนแหงหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];1(2):162-71. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169210
เพ็ญพร พัฒนเกรียงไกร, วรวิทย์ ตั้งวิไล, พีรยศ ภมรศิลปธรรม. ผลลัพธ์ของการปรับกระบวนการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพ: กรณีศึกษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];14(4):887-900. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/252172
พรศรี อิงเจริญสุนทร, เบญจวรรณ ทับทิมแสน, วริศรา ศรีสระหลวง, ศรัณยา นิตินันทพงศ์. การพัฒนาระบบประสานรายการยาในผู้ป่วยเด็กโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารกรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];47(3):32-41. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/254476
ฉัตราภรณ์ พรมโคตร, มณีรัตน์ รัตนามหัทธนะ. การพัฒนาและประเมินผลกระบวนการตรวจสอบความสอดคล้องของการสั่งใช้ยาในโรงพยาบาล: กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวาน ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;13(3):49-58. doi: 10.14456/ijps.2017.19.
เกล็ดดาว ธิมา, นิลวรรณ อยู่ภักดี. ต้นทุนฐานกิจกรรมของกระบวนการประสานรายการยาในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพมหานคร. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];13(2):474-85. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/239927
กุลวดี นันทะเสนา. การศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยา ต้นทุนที่ประหยัดได้และต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้จากการประสานรายการยาแผนกผู้ป่วย ในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];3(1):21-37. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/247784
อนัญญา สองเมือง, ธนัฎชา สองเมือง. ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้โปรแกรม SMART AsthCOPD ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566];36(5):577-85. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/252559
Songmuang T, Songmuang A. Pharmaceutical care monitoring in outpatients with drug related problems, before and after developing a computerized program. Proceedings of the 16th Asian Conference on Clinical Pharmacy; 2016 July 14–18; Seoul, Republic of Korea; 2016.
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). กรอบงานพื้นฐานระบบยา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2563 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.thaihp.org/wp-content/uploads/2022/06/หนังสือกรอบงานพื้นฐาน.pdf
Mazhar F, Akram S, Al-Osaimi YA, Haider N. Medication reconciliation errors in a tertiary care hospital in Saudi Arabia: admission discrepancies and risk factors. Pharm Pract 2017;15(1):864. doi: 10.18549/PharmPract.2017.01.864.
ภาณุวัชร์ เอื้อพิพัฒนากูล. ระบบจัดการฐานข้อมูล: พื้นฐานสู่การใช้งาน SQL. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.
พิเชษฐ์ สิทธิโชคทวีสิน. การจัดการฐานข้อมูลและการเขียนโปรแกรม SQL. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2562.
โรงพยาบาลวารินชำราบ. บัญชียาโรงพยาบาลวารินชำราบ ปีงบประมาณ 2567: กลุ่มยาที่ 3 Respiratory system. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลวารินชำราบ; 2567.
กระทรวงการคลัง. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการคลัง; 2554 [สืบค้นเมื่อ 27 ก.พ. 2567]. สืบค้นจาก: https://auditer.hss.moph.go.th/web_Audit/upload1/travel/10.pdf
พิริยะ จิตนภากาญจน์. ผลของกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา ในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2565.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ