ผลการให้การบำบัดแบบกลุ่มตามแนวพุทธธรรมต่อภาวะวิตกกังวลและ ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยรังสีรักษา

Authors

  • โสภิต ทับทิมหิน
  • สมพร รุ่งเรืองกลกิจ

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการมีสติ ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ก่อนและหลังการทดลอง รวมถึงระยะติดตามผล 1 และ 2 เดือน ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการบำบัดแบบกลุ่มตามแนวพุทธธรรมและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการมีสติ ภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิง ระยะที่ 2 และ 3 ที่อยู่ระหว่างรับการรักษาด้วยรังสีรักษา จำนวน 16 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบวัดระดับการมีสติ แบบวัดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการเปรียบเทียบเชิงพหุคุณ

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับการมีสติสูงกว่าก่อนทดลอง และมีค่าเพิ่มขึ้นในระยะติดตามผล 1 และ 2 เดือน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนคะแนนภาวะวิตกกังวลและคะแนนภาวะซึมเศร้ามีค่าต่ำกว่าก่อนทดลอง และมีค่าลดลงในระยะติดตามผล 1 และ 2 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังมีค่าระดับการมีสติสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีค่าคะแนนภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)

จากผลการวิจัยข้างต้นควรนำแนวทางการให้การบำบัดแบบกลุ่มตามแนวพุทธธรรมไปประยุกต์ในกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสี เพื่อลดระดับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วย

คำสำคัญ: มะเร็งเต้านม ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า การบำบัดตามแนวพุทธธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-09-14

How to Cite

1.
ทับทิมหิน โ, รุ่งเรืองกลกิจ ส. ผลการให้การบำบัดแบบกลุ่มตามแนวพุทธธรรมต่อภาวะวิตกกังวลและ ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยรังสีรักษา. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 14 [cited 2024 Oct. 14];27(1):109. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2764