การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เจริญพร โนกาศ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประทุม สร้อยวงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราวรรณ อุดมความสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i02.268146

คำสำคัญ:

ความปวด , แนวปฏิบัติทางการพยาบาล , การพัฒนาแนวปฏิบัติ , ผู้ป่วยโรคมะเร็ง

บทคัดย่อ

บทนำ ความปวดเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ส่งผลกระทบทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล การมีแนวปฏิบัติ ทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดจะช่วยให้พยาบาลมีการปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันและช่วยบรรเทาความปวดให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ 

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง 

การออกแบบการวิจัย การวิจัยดำเนินการ (operational research) 

วิธีดำเนินการวิจัย การพัฒนาแนวปฏิบัติ ฯ ใช้แนวทางและขั้นตอนขององค์กรความร่วมมือเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติทางคลินิก (The ADAPTE Collaboration, version 2.0) เป็นแนวทาง ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ เตรียมความพร้อม ระยะปรับปรุง และระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคลากรทีมพัฒนา แนวปฏิบัติจำนวน 5 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติ ครบทุกข้อเสนอแนะ จำนวน 3 คน และ 3) กลุ่มบุคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติ ครบทุกข้อเสนอแนะ จำนวน 4 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองแนวปฏิบัติ 2) แบบประเมินคุณภาพ แนวปฏิบัติทางคลินิก (Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II [AGREEII]) ฉบับภาษาไทย 3) แบบคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็ง และ 4) แบบรวบรวมผลลัพธ์ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติด้านคลินิกและด้านกระบวนการ เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ 

ผลการศึกษา แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 หมวด ได้แก่ 1) การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรม 2) การประเมินความปวด 3) การจัดการ ความปวด 4) การให้ความรู้ในการจัดการตนเองเกี่ยวกับความปวด และ 5) การติดตามการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาคุณภาพ ผลการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติทางคลินิก โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ทุกหมวด และมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้ และคู่มือการจัดการความปวดด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วย มีความเหมาะสม ให้ความรู้ในการจัดการตนเองเกี่ยวกับความปวด ด้านภาษาที่ใช้เข้าใจง่าย ผลการทดสอบ ความเป็นไปได้พบว่า สามารถบรรเทาความปวดของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ทุกครั้งที่มีความปวด (จำนวน 21 ครั้ง) กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีความพึงพอใจต่อการได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯนี้ในระดับมากที่สุด และบุคลากรผู้ใช้แนวปฏิบัติฯ มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติในระดับมากถึงมากที่สุด 

ข้อเสนอแนะ ควรมีการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งนี้ไปใช้ และศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติฯ ทั้งผลลัพธ์ด้านคลินิกและด้านกระบวนการ

Downloads

References

Breivik H, Borchgrevink PC, Allen SM, Rosseland LA, Romundstad L, Breivik Hals EK, et al. Assessment of pain. BJA. 2008;101(1):17-24. https://doi.org/10.1093/bja/aen103

Jara C, Del Barco S, Grávalos C, Hoyos S, Hernández B, Muñoz M, et al. SEOM clinical guideline for treatment of cancer pain (2017). Clin Transl Oncol. 2017;20(1):97-107. https://doi.org/10.1007/s12094-017-1791-2 PMID: 29127593

Cancer Research UK. Causes and types of cancer pain. 2024. Available from: https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/coping/physically/cancer-andpain-control/causes-and-types

Russo MM, Sundaramurthi T. An overview of cancer pain: epidemiology and pathophysiology. Semin Oncol Nurs. 2019;35(3):223-8. https://www.doi:10.1016/j.soncn.2019.04.002 PMID: 31085106

Pichayapanich P, Chayangsu C. Management of cancer pain for internist. Medical Journal of Sisaket Surin Buriram Hospitals. 2021;36(2):475-84. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/252946/172037 (in Thai)

Swarm RA, Paice JA, Anghelescu DL, Are M, Bruce JY, Buga S, et al. Adult cancer pain, version 3.2019, NCCN clinical practice guidelines in oncology. J Natl Compr Canc Netw. 2019;17(8):977-1077. https://doi.org/10.6004/jnccn.2019.0038 PMID: 31390582

van Veldhoven, LM, Novy DM. Psychosocial assessment and treatment for patients with cancer pain. In: Gulati A, Puttanniah V, Bruel B, Rosenberg W, Hung J. editors. Essentials of interventional cancer pain management. Cham (Switzerland): Springer; 2019. p. 451-62. Available from: https://doi.org/10.1007/978-3-319-99684-4_49

Banthip K, Pechratchatachat A. Spiritual nursing dimension for chronically patient in community. Songkhla: PC Prospect; 2016.

Chi NC, Demiris G. Family caregivers’ pain management in end-of-life care: a systematic review. Am J Hosp Palliat Care. 2017;34(5):470-85. https://doi.org/10.1177/1049909116637359 PMID: 26975303

National Cancer Institute. Coping with cancer. 2021. Available from: https://www.cancer.gov/about-cancer/coping

World Health Organization. Cancer pain relief: with a guide to opioid availability. 2nd ed. Geneva: World Health Organization; 1996.

Taiwong A, Tilakarayasrup S, Srichunchai J, Jantasin B, Relachati C, Kakarndee A, et al. Innovative development for the assessment and management of pain using the evidence based practice. Mahasarakham Hospital Journal. 2018;15(1):167-75. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/195200/135697 (in Thai)

Thongchai C. Clinical practice guidelines development. The Thai Journal of Nursing Council. 2012;20(2): 63-76. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2245/1883 (in Thai)

The ADAPTE Collaboration. The ADAPTE Process: resource toolkit for guideline adaptation, version 2.0. Hamilton (Canada): Guideline International Network; 2010. Available from: https://g-i-n.net/wp-content/uploads/2021/03/ADAPTE-Resource-toolkit-March-2010.pdf

McCaffery M, Beebe A. Pain: clinical manual for nursing practice. Maryland: Mosby; 1989.

Teasdale G, Jennett B. Assessment of coma and impaired consciousness. A practical scale. Lancet. 1974;2(7872):81-4. https://doi.org/10.1016/s0140-6736(74)91639-0 PMID: 4136544

Maharaj Nakorn Chaing Mai Hospital, Nursing Department, Palliative care committee. Palliative performance scale for adult Suandok (PPS-Adult Suandok); 2008. Available from: http://hsmi2.psu.ac.th/food/upload/forum/7_Suandok_s_Palliative_care_model_5.60.pdf (in Thai)

National Health and Medical Research Council. How to put the evidence into practice: implementation and dissemination strategies. Canberra (Australia): Biotext; 2000. Available from: https://www.nhmrc.gov.au/sites/default/files/2018-03/how-to-put-the-evidence-into-practice-implementation-and-dissemination.pdf

Lasuka D. Clinical practice guidelines adaptation: concept and process. Nursing Journal. 2013;40(Suppl 2): 97-104. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19087/16790 (in Thai)

Ball CM, Phillips RS, editors. Acute medicine: evidencebased on-call. Edinburgh (United Kingdom): Churchill Livingstone; 2001.

Ministry of Public Health, Department of Medical Services, Institute of Medical Research & Technology Assessment. Appraisal of guidelines for research & evaluation II: AGREE II (Thai version). Nonthaburi: Institute of Medical Research & Technology Assessment; 2013. Available from: http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/AGREE%20ok%20for%20e-book.pdf (in Thai)

Cohen J. Weighed kappa: nominal scale agreement with provision for scaled disagreement or partial credit. Psychol Bull. 1968;7(4):213–20. https://doi.org/10.1037/h0026256 PMID: 19673146

Joint Commission International. Joint Commission International Accreditation Standards for hospitals. 7th ed. Illinois: Oakbrook Terrace; 2021.

Chang VT, Hwang SS, Feuerman M. Validation of the Edmonton Symptom Assessment Scale. Cancer. 2000;88(9):2164-71. https://doi.org/10.1002/(sici)1097-0142(20000501)88:9%3C2164::aid-cncr24%3E3.0.co;2-5 PMID: 10813730

Minello C, George B, Allano G, Maindet C, Burnod A, Lemaire A. Assessing cancer pain- the first step toward improving patient’s quality of life. Supportive Care in Cancer. 2019;27(8):3095-3104. https://link.springer.com/article/10.1007/s00520-019-04825-x

Joanna Briggs Institute. Joanna Briggs Institute reviewers, manual: 2008 edition. Adelaide (Australia): Joanna Briggs Institute; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

How to Cite

1.
โนกาศ เ, สร้อยวงค์ ป, อุดมความสุข ว. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. J Thai Nurse Midwife Counc [อินเทอร์เน็ต]. 24 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];39(02):236-52. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/268146