การประเมินภาวะไอโอดีนและแนวโน้มสถานการณ์ไอโอดีนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปทิตตา ส่งศิริ ศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์
  • ปิยวรรณ วงศ์วสุ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ภาวะขาดไอโอดีน, ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะ, วิธีการประเมินการบริโภคไอโอดีน

บทคัดย่อ

ภาวะขาดไอโอดีนนั้นเคยเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ปัจจุบันเกลือเสริมไอโอดีนและยาเม็ดเสริมไอโอดีนยังคงถูกใช้เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว แต่ด้วยพฤติกรรมและวิถีชีวิตการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปในยุคปัจจุบัน อาจเป็นไปได้ว่ามีกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการได้รับไอโอดีนเกินความต้องการของร่างกาย บทความปริทัศน์นี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมวิธีการประเมินการบริโภคไอโอดีนและความเชื่อมโยงระหว่างเครื่องมือ รวมถึงแนวโน้มและสถานการณ์ไอโอดีนในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าการประเมินที่เป็นที่นิยมคือ การวัดค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะ และการวัดปริมาณไอโอดีนจากการบริโภคโดยการใช้แบบสอบถามความถี่การบริโภคอาหารกึ่งปริมาณ แต่ความสัมพันธ์ของผลจากการใช้เครื่องมือ
ทั้งสองร่วมกันยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติม ในแง่สถานการณ์ไอโอดีนปัจจุบันพบว่าประชากรวัยเด็กมีแนวโน้มที่จะได้รับสารไอโอดีนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากในอดีตและอยู่ในระดับเกินเพียงพอ ซึ่งอาจมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สำหรับหญิงตั้งครรภ์การใช้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนควบคู่ไปกับการให้ความรู้ยังคงจำเป็น ในภาพรวมประชากรทุกกลุ่มวัยยังคงได้รับไอโอดีนเพียงพอและไม่เสี่ยงต่อการได้รับสารไอโอดีนสูงเกินไปจนเกิดอันตราย อย่างไรก็ตามผลการศึกษาในภาพรวมนี้ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนบ่งบอกภาวะไอโอดีนในรายบุคคลได้ และควรมีการติดตามจัดการกับภาวะไอโอดีนในระดับย่อยต่อไป

References

Zimmermann M. Iodine deficiency. Amsterdam: Elsevier; 2010.

Haldimann M, Alt A, Blanc A, Blondeau K. Iodine content of food groups. J Food Compos Anal 2005;18(6):461-471.

International Council for Control of Iodine Deficiency Disorders, Unicef, World Health Organization. Assessment of iodine deficiency disorders and monitoring their elimination: a guide for programme managers. Geneva: World Health Organization; 2007.

Chung HR. Iodine and thyroid function. Ann Pediatr Endocrinol Metab 2014;19(1):8-12.

World Health Organization. Iodine status worldwide WHO global database on iodine deficiency. 2004.

ประนอม บุพศิริ.ไอโอดีนกับสตรีตั้งครรภ์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2556;28(4):92-6.

Jolly R. Early childhood development: the global challenge. Lancet. 2007 (9555):8-9.

Chaiopanont S. Iodine disorder situation in pregnant women in Thailand during the year 2011 - 2015. JPMAT 2017;7(2):200-21.

Farebrother J, Zimmermann MB, Andersson M. Excess iodine intake: sources, assessment, and effects on thyroid function. ‎Ann NY Acad Sci 2019;1446(1):44-65.

Leung AM, Braverman LE. Consequences of excess iodine. Nat Rev Endocrinol 2014;10(3):136-42.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน (ตุลาคม 2559 – เมษายน 2561). กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2561.

Naess S, Aakre I, Kjellevold M, Dahl L, Nerhus I, Midtbo LK, et al. Validation and reproducibility of a new iodine specific food frequency questionnaire for assessing iodine intake in Norwegian pregnant women. Nutr J 2019:18(1):1-12.

Chongchaithet N, Viriyautsahakul N, Aksornchu P, Supanuwat J. Dietary behavior and iodine status of 3-5 year-old children. J Nutr Assoc Thai 2017;53(2):37-53.

World Health Organization. Urinary iodine concentrations for determining iodine status in populations. 2013

สุณีรัตน์ ยั่งยืน, สุวิมล สงกลาง และ ธิดารัตน์ สมดี. การบริโภคอาหารและปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2555;5(4):683 - 702.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2558. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด. 2552.

โครงการเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนแบบบูรณาการ ปี 2554-2556 [Internet]. [cited 30 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th/.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2562.

ณัฐนันท์ วิเชียร. ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความทบทวนวิชาการ