ค่าดัชนีน้ำตาลและการศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบการตอบสนองของระดับน้ำตาล อินซูลินและไขมันในเลือดของโนวิแคล-ดีเอ็มกับอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (กลูเซอนา เอสอาร์ ทริปเปิ้ลแคร์) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ศรีวัฒนา ทรงจิตสมบูรณ์ กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วณิชชา ภักดิ์โพธิ์ กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย (ฉันทวศินกุล) กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรัตน์ โคมินทร์ สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

ความชุกของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังบริโภคจึงมีความสำคัญในผู้ป่วย คณะผู้วิจัยจึงพัฒนาโนวิแคล-ดีเอ็มให้เป็นอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มสลับไขว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าดัชนีน้ำตาลของโนวิแคล-ดีเอ็มในอาสาสมัครสุขภาพดี 12 คน ใช้สารละลายกลูโคสเป็นสารอ้างอิง และศึกษาการตอบสนองของระดับน้ำตาล อินซูลินและไขมันในเลือดหลังบริโภคโนวิแคล-ดีเอ็มในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 14 คนเปรียบเทียบกับกลูเซอนา เอสอาร์ ทริปเปิ้ลแคร์ (ดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 41) ผลการศึกษาพบว่า โนวิแคล-ดีเอ็มมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเท่ากับ 19 และพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล อินซูลินและไขมันในเลือดหลังบริโภคโนวิแคล-ดีเอ็มและกลูเซอนาไม่แตกต่างกัน แต่พบว่า โนวิแคล-ดีเอ็มมีค่าเฉลี่ยของพื้นที่ใต้กราฟที่เพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดตลอด 240 นาที ต่ำกว่ากลูเซอนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือต่ำกว่าร้อยละ 32 (4,398 และ 6,508 มก. x นาที/ดล., p < 0.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการบริโภคโนวิแคล-ดีเอ็มดัชนีน้ำตาลต่ำ (=19) มีประโยชน์ต่อการตอบสนองของระดับน้ำตาลในเลือดหลังบริโภคในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่ากลูเซอนา เอสอาร์ ทริปเปิ้ลแคร์

References

วิชัย เอกพลากร. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. วารสารเบาหวาน 2560;(49):7-14.

วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, วิชัย เอกพลากร, ชดา เกษมทรัพย์,หทัยชนก พรรคเจริญ. รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย: การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. ใน: วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย, 2554.

Malik VS, Popkin BM, Bray GA, Després JP, Willett WC, Hu FB. Sugar-Sweetened Beverages and Risk of Metabolic Syndrome and Type 2 Diabetes: a meta-analysis. Diabetes Care 2010;33:2477-83.

Dunning T, Sinclair A, Colagiuri S. New IDF Guideline for managing type 2 diabetes in older people. Diabetes Res Clin Pract 2014;103:538-40.

American Diabetes Association. Microvascular complications and foot care. Diabetes Care 2016;39(Suppl.1):S72—S80.

Livesey G, Taylor R, Hulshof T, Howlett J. Glycemicresponse and health-a systematic review and meta-analysis: relations between dietary glycemic properties and health outcomes. Am J Clin Nutr 2008;87:258S-68S.

Chapter 4 - The role of the glycemic index in food choice. In: FAO/WHO. Carbohydrates in human nutrition: report of a joint FAO/WHO expert consultation, Rome, 14–18 April 1997. FAO Food and Nutrition Paper 66. Rome: FAO; 1998.

Swanson D, Block R, Mousa SA. Omega-3 fatty acids EPA and DHA: health benefits throughout life. Adv Nutr 2012;3:1-7.

Wolever TM, Brand-Miller JC, Abernethy J, Astrup A, Atkinson F, Axelsen M, et al. Measuring the glycemic index of foods: interlaboratory study. Am J Clin Nutr 2008;87:247S-57S.

Fonda SJ, Jain A, Vigersky RA. A head-to-head comparison of the postprandial effects of 3 meal replacement beverages

among people with type 2 diabetes. Diabetes Educ 2010;36:793-800.

Blaak EE, Antoine JM, Benton D, Björck I, Bozzetto L, Brouns F, et al. Impact of postprandial glycaemia on health and prevention of disease. Obes Rev 2012 Oct;13:923-84.

The University of Sydney. Search for the glycemic index. [Internet] 2021 [cited 2021 Jan 7]. Available from: URL: https://www.glycemicindex.com/foodSearch.php

Gomes JG, Fabrini SP, Alfenas RG. Low glycemic index diet reduces body fat and attenuates inflammatory and metabolic responses in patients with type 2 diabetes. Arch Endocrinol Metab 2017;61;137–44.

Jenkins DA, Kendall CC, McKeown-Eyssen G, Josse RG, Silverberg J, Booth GL, et al. Effect of a low-glycemic index or a high-cereal fiber diet on type 2 diabetes: a randomized trial. JAMA 2008;300:2742–53.

Gonalves Reis CE, Dullius J. Glycemic acute changes in type 2 diabetics caused by low and high glycemic index diets. Nutr Hosp 2011;26:546–52.

Glucose tolerance and mortality: comparison of WHO and American Diabetes Association diagnostic criteria. The DECODE study group. European Diabetes Epidemiology Group. Diabetes epidemiology: collaborative analysis of diagnostic criteria in Europe. Lancet 1999;354(9179):617-21.

Qiao Q, Tuomilehto J, Borch-Johnsen K. Post-challenge hyperglycaemia is associated with premature death and macrovascular complications. Diabetologia 2003;46 Suppl (1):M17-21.

Hu G, Qiao Q, Tuomilehto J, Balkau B, Borch-Johnsen K, Pyorala K; DECODE Study Group. Prevalence of the metabolic

syndrome and its relation to all-cause and cardiovascular mortality in nondiabetic European men and women.Arch Intern Med 2004;164:1066-76.

Temelkova-Kurktschiev TS, Koehler C, Henkel E, Leonhardt W, Fuecker K, Hanefeld M. Postchallenge plasma glucose and glycemic spikes are more strongly associated with atherosclerosis than fasting glucose or HbA1c level. Diabetes Care 2000;23:1830-4.

Monnier L, Mas E, Ginet C, Michel F, Villon L, Cristol JP, et al. Activation of oxidative stress by acute glucose fluctuations compared with sustained chronic hyperglycemia in patients with type 2 diabetes. JAMA 2006;12:1681-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23