การประดิษฐ์อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีรอบหลอดเอกซเรย์ (X-ray tube) ของเครื่องเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปีแบบดิจิตอล (Digital fluoroscopy)

ผู้แต่ง

  • สุธาวี วรสุวรรณ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสี, หลอดเอกซเรย์, เครื่องเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปีแบบดิจิตอล, รังสีกระเจิง

บทคัดย่อ

       ได้ทำการศึกษาวิจัยกึ่งทดลองโดยการประดิษฐ์อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีรอบหลอดเอกซเรย์ของเครื่องเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปีแบบดิจิตอล ชนิดหลอดเอกซเรย์อยู่เหนือเตียง ภายใต้ระบบควบคุมปริมาณรังสีอัตโนมัติ (Automatic Exposure Control: AEC) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Toshiba รุ่น KXO-50XM ติดตั้งอยู่ที่ห้องตรวจพิเศษทางรังสี กลุ่มงานรังสีวิทยา สถาบันบำราศนราดูร เพื่อลดปริมาณรังสีกระเจิงที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับขณะทำการถ่ายภาพรังสี ขั้นตอนประกอบด้วยการออกแบบอุปกรณ์โดยใช้เสื้อตะกั่วเก่าเทียบเท่ากับแผ่นตะกั่วที่มีความหนา 0.5 มิลลิเมตร หุ้มด้วยแผ่นหนังเทียมเสริมความแข็งแรงด้วยโครงเหล็กดัดรองรับอุปกรณ์ จากนั้นติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีรอบหลอดเอกซเรย์ และทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีโดยการวัดปริมาณรังสีกระเจิง ก่อนและหลังติดตั้งอุปกรณ์ด้วยเครื่องสำรวจรังสีร่วมกับการใช้หุ่นจำลองที่ตำแหน่งต่างๆ รอบเตียงเอกซเรย์จำนวน 7 ตำแหน่ง ที่ระดับความสูงจากพื้น 2 ระดับ คือ 90 และ 145 เซนติเมตร ซึ่งเทียบได้กับตำแหน่งของ Gonad และ Thyroid ของคนสูง 170 เซนติเมตร พบว่าเมื่อใช้รังสีพลังงานคงที่ 97 kilovoltage peak 2.5 milliampere ที่ตำแหน่งต่างๆ รอบเตียงเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปีที่ระดับความสูงจากพื้น 90 และ 145 เซนติเมตร ปริมาณรังสีกระเจิงลดลงตั้งแต่ร้อยละ 5.26 ถึง 16.15 และตั้งแต่ร้อยละ 1.86 ถึง 11.76 ตามลำดับ แสดงว่าอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ป้องกันอันตรายจากรังสีขณะปฏิบัติงานได้

References

International Commission on Radiological Protection (ICRP). Principles for the radiation protection of workers, Publication No. 75. Oxford: Pergamon Press; 1997.

Bushberg JT, Seibert JA, Leidholdt EM, Boone JM. The essential physics of medical imaging. 2nd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2002. p. 248-273.

The external radiation hazard. In: Martin AD, Harbison SA. An introduction to radiation protection. 4th ed. London: Chapman & Hall medical; 1996. p. 76-82.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปีนานเสี่ยงรับรังสีสูงอาจเป็นมะเร็งได้. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 8 ส.ค. 2561]; เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.hfocus.org/content/2014/03/6701.

ชัยวัฒน์ เชิดเกียรติกุล, ภัชภิชา แสงจันทร์, สุพรรณี ลิอุโมงค์. การดูแลรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีในงานรังสีวินิจฉัย. วารสารรังสีวิทยาศิริราช 2558; 2(1): 55-63.

NCRP Report No.147. Structural shielding design for medical x-ray imaging facilities. Bethesda, MD: National Council on Radiation Protection and Measurements; 2004.

จิราพร การุญ, วัลลภา เพชรวงศ์. การวัดการกระจายของรังสีกระเจิงจากเครื่องฟลูโอโรสโคปีชนิดหลอดเอกซเรย์อยู่เหนือเตียงภายใต้ระบบควบคุมความสว่างภาพอัตโนมัติ [ภาคนิพนธ์]. คณะเทคนิคการแพทย์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)