การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์กรดเบนโซอิก กรดซาลิซิลิค และกรดซอร์บิกในหมูยอ โดยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง
คำสำคัญ:
Benzoic acid, Sorbic acid, Salicylic acid, HPLC, Vietnamese pork sausageบทคัดย่อ
วัตถุเจือปนอาหาร กลุ่มเบนโซเอต (กรดเบนโซอิกและเกลือของกรดเบนโซอิก) และกลุ่มซอร์เบต (กรดซอร์บิก และเกลือของกรดซอร์บิก) เป็นวัตถุกันเสียตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 และตั้งแต่ พ.ศ. 2559 กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 381 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) ไม่อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนกลุ่มเบนโซเอตในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สำหรับวัตถุเจือปนกลุ่มซอร์เบต กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดและผ่านกรรมวิธีได้ 1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนกรดซาลิซิลิคได้ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 391 พ.ศ. 2561 จึงได้ศึกษาและพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ กรดเบนโซอิก กรดซาลิซิลิค และกรดซอร์บิก ในลูกชิ้นและหมูยอ โดยการสกัดตัวอย่างด้วย ammonium acetate buffer กับ methanol (60:40) และฉีดเข้าเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงในสภาวะที่กำหนด และได้ทดสอบความถูกต้อง พบว่าวิธีมีความเหมาะสมโดยมีขีดจำกัดของการตรวจพบ และขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณของกรดเบนโซอิก กรดซาลิซิลิค และกรดซอร์บิก เท่ากับ 6 และ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ช่วงกราฟมาตรฐานให้ความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง คือ 0.5-60.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และช่วงการใช้งาน คือ 10-1,200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.9999 ทั้ง 3 ชนิด ความแม่นยำแสดงด้วยค่าเฉลี่ยของ % recovery โดยกรดเบนโซอิก กรดซาลิซิลิค และกรดซอร์บิก อยู่ในช่วง 97.06-100.01%, 95.75-100.02% และ 98.30-100.29% ตามลำดับ ความเที่ยงแสดงด้วยค่า % Relative Standard Deviation อยู่ในช่วง 0.14-0.90, 0.18-0.94 และ 0.15-0.83 ตามลำดับ ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของลูกชิ้นและหมูยอที่จำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ในระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2560 ได้ตรวจวิเคราะห์รวม 84 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีที่ทดสอบความถูกต้องแล้ว พบว่า ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบกรดซาลิซิลิค แต่พบกรดเบนโซอิกร้อยละ 78.6 ของตัวอย่าง ซึ่งนับว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และตรวจพบกรดซอร์บิกร้อยละ 11.9 แต่ปริมาณต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าวิธีนี้สามารถนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์และสำรวจกรดเบนโซอิก กรดซาลิซิลิค และกรดซอร์บิกในตัวอย่างหมูยอ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป
References
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 97 ง (วันที่ 6 กันยายน 2547).
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 (พ.ศ. 2559) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 298 ง (วันที่ 20 ธันวาคม 2559).
WHO. Benzoic acid and sodium benzoate (Concise international chemical assessment document 26). Geneva: World Health Organization; 2000.
อัญชนา ดุจจานุทัศน์. การยืดอายุการเก็บรักษาหมูยอโดยใช้โซเดียมเบนโซเอต [วิทยานิพนธ์]. ภาควิชาอาหารเคมี, คณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2561) เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 237 ง (วันที่ 25 กันยายน 2561).
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานผู้บริโภคและข่าวแจ้งเตือนภัยด้านอาหาร. [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb.
สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย. กรดเบนโซอิก; วัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในอาหาร. [ออนไลน์]. [สืบค้น 31 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.thaitox.org/knowledge/detail.php?section=8&category=7&id=8.
Latimer GW, Editor. Official methods of analysis of AOAC International. 20th ed. Maryland: AOAC International; 2016. Ch. 47 p.17-19.
ISO 22855: 2008. Fruit and vegetable products-determination of benzoic acid and sorbic acid concentrations-high performance liquid chromatography method. Geneva: International Organization for Standardization; 2009.
Eurachem Guide. The Fitness for purpose of analytical methods. a laboratory guide to method validation and related topics. 2nd ed. Torino: Eurachem; 2014.
ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
Reviewer guidance validation of chromatoghraphic methods. [Online]. 1994 [cited 2019 Feb 8]. Available from: URL: https://www.fda.gov/downloads/Drugs/Guidances/UCM134409.pdf.