การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเครื่องดื่มที่ทำจากผักผลไม้

ผู้แต่ง

  • รัติยากร ศรีโคตร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วีรวุฒิ วิทยานันท์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

pesticide residues, multi-residue analysis, juices, gas chromatography

บทคัดย่อ

       ได้ศึกษาและพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครอบคลุมสารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโน ฟอสฟอรัส และกลุ่มสารสังเคราะหไ์ พรีทรอยด์ จำนวน 49 สาร ในตัวอย่างเครื่องดื่มที่ทำจากผักผลไม้ ซึ่งปรับปรุงจากวิธี AOAC Official Method 2007.01 และวิธีของ Anastassiades M. และคณะ ที่ตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างผักและผลไม้ โดยเพิ่มเทคนิค salting out ในขั้นตอนการสกัด ตรวจหาชนิดและปริมาณด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ ชนิดไมโครอีซีดี และเอฟพีดี ในการทดสอบความใช้ได้ของวิธีที่พัฒนาขึ้น โดยใช้น้ำฝรั่งเป็นตัวแทนเครื่องดื่มที่ทำจากผักผลไม้ วิธีดังกล่าวมีขีดจำกัดของการตรวจพบเท่ากับ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ช่วงความเป็นเส้นตรงของการวิเคราะห์ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์อยู่ในช่วง 0.03-0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ความแม่นแสดงด้วย % recovery อยู่ในช่วง 64.2-118.6% ความเที่ยง แสดงด้วย HORRAT อยู่ในช่วง 0.1-1.3 นอกจากนั้น เพื่อให้ทราบสถานการณ์การตกค้าง ได้นำวิธีที่พัฒนาขึ้นไปใช้ตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเครื่องดื่มที่ทำจากผักและผลไม้ ได้แก่ น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำแคร์รอต น้ำทับทิม และน้ำผักผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 100 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบการตกค้างของสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสมากที่สุด คือ chlorpyrifos, ethion, pirimiphos-methyl และ profenofos ปริมาณตั้งแต่น้อยกว่า 0.03-1.22 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สารกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ตรวจพบเพียงสารเดียวคือ cypermethrin ปริมาณ 0.04 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และตรวจไม่พบสารในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน

References

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. ผักและผลไม้ กินเท่าไรในแต่ละวันให้ได้ใยอาหารต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.); 2557.

แสงโฉม ศิริพานิช. สถานการณ์และผลต่อสุขภาพจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44: 689-92.

จอมสุดา อินทรกุล, ไกรชาติ ตันตระการอาภา, พงษ์ธร ชาติพิทักษ์, ปัญจพร อินบำรุง, พรพิมล ประดิษฐ์, เอกพงษ์ ณ น่าน. ผลกระทบต่อสุขภาพของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการใช้สารเคมีทำลายยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี. วารสารควบคุมโรค 2561; 44(1): 77-91.

Makovi CM, Mcmahon BM, editors. Pesticide analytical manual volume I: multiresidue methods. 3rd ed. Washington, DC.: U.S. Department of Health and Human Services; 1999.

How should methods be validated?. In: Eurachem Guide. The fitness for purpose of analytical methods: a laboratory guide to method validation and related topics. United Kingdom: LGC (Teddington) Ltd; 1998. p. 5-25.

SANTE/11945/2015. Guidance document on analytical quality control and method validation procedures for pesticides residues and analysis in food and feed. United Kingdom: European Commission; 2016.

Ellison SLR, Roesslein M, Williams A, editors. EURACHEM/CITAC Guide: Quantifying uncertainty in analytical measurement. 2nd ed. United Kingdom: EURACHEM; 2000.

AOAC Official Method 2007.01. Pesticide residues in foods by acetonitrile extraction and partitioning with Magnesium Sulfate. [Online]. 2007. [9 screens]. Available from: URL: https://www.weber.hu/Downloads/SPE/QuEChERS/AOAC_2007_01.pdf.

Anastassiades M, Lehotay SJ, Stajnbaher D, Schenck FJ. Fast and easy multiresidue method employing acetonitrile extraction/partitioning and “dispersive solid-phase extraction” for the determination of pesticides residues in produce. J AOAC Int 2003; 86(2): 412-31.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 (พ.ศ. 2560) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 228 ง (วันที่ 18 กันยายน 2560).

จันทรพร ทองเอกแก้ว. บัวบก : สมุนไพรมากคุณประโยชน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2556; 15(3): 70-5.

Agenda Item 6. In: Joint FAO/WHO Food Standards Programme. 48th session of Codex Committee on Pesticide Residues Chongqing, China. 25-30 April 2016. [Online]. 2016. [29 screens]. Available from: URL: https://ec.europa.eu/food/sites/food/files/safety/docs/codex_ccpr_48_agenda-item-06.pdf.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2556) เรื่องอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 87 ง (วันที่ 24 กรกฎาคม 2556).

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2557. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 27 ก.ค. 2561]; [8 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.thaipan.org/sites/default/files/file_info/StatisticsHazardName57.pdf.

สุทธิรักษ์ ผลเจริญ. สารเคมีตกค้างทางการเกษตร (ตอนที่ 1). ระบบการจัดการองค์ความรู้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 27 ก.ค. 2561]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.chumphon2.mju.ac.th/km/?p=471.

ทองสุข ปายะนันทน์, จิตผกา สันทัดรบ, วิชาดา จงมีวาสนา, รัติยากร ศรีโคตร, วีรวุฒิ วิทยานันท์. การศึกษาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผลส้ม. ว กรมวิทย พ 2558; 57(4): 391-400.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2018

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)