การประเมินความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์กรดซาลิซิลิกในเครื่องสำอางครีมโดยห้องปฏิบัติการด้านเครื่องสำอางของอาเซียน
คำสำคัญ:
BHA analysis, salicylic acid analysis, ASEAN cosmetic method, ACM 009บทคัดย่อ
ประเทศไทยได้นำเสนอวิธีวิเคราะห์ปริมาณกรดซาลิซิลิก โดยใช้เอชพีแอลซี ซึ่งมีห้องปฏิบัติการของประเทศสมำชิกอาเซียนสมัครเข้าร่วมทดสอบวิธีจำนวน 8 แห่ง แต่ละแห่งได้รับวิธีวิเคราะห์ที่ได้ผ่านการทดสอบความถูกต้องของวิธี โดยห้องปฏิบัติการเดียว และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ครีมผสมกรดซาลิซิลิกร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลที่ได้คือ มีห้องปฏิบัติการสมาชิกส่งผลทดสอบ 5 แห่ง ไม่ส่งผลทดสอบ 3 แห่ง ปรับเปลี่ยนวิธีวิเคราะห์ 1 แห่ง จึงมีข้อมูลที่ใช้ได้ จำนวน 4 แห่ง จากการศึกษาและประเมินผลทางสถิติ โดยประเมินค่าที่ผิดปกติด้วย Cochran’s test และ Grubb’s test ไม่พบผลทดสอบเป็น outlier และการประเมินความเที่ยงของวิธีอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยมีค่า repeatability standard deviation (Sr) เท่ากับ 0.002, repeatability relative standard deviation (RSDr,%) เท่ากับ 0.43, repeatability limit (r95) เท่ากับ 0.006, reproducibility standard deviation (SR) เท่ากับ 0.039, reproducibility relative standard deviation (RSDR, %) เท่ากับ 7.68, reproducibility limit (R95) เท่ากับ 0.109 และร้อยละการกลับคืน (% R) อยู่ระหว่าง 95.60-101.38 จากผลการศึกษาจึงได้ถูกกำหนดเป็นวิธีวิเคราะห์เครื่องสำอางของอาเซียนชื่อ ACM 009 และให้ประเทศไทยเป็นหน่วยงานจัดการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการของการวิเคราะห์ด้วยวิธี ACM 009
References
Terms of reference of ASEAN cosmetic testing laboratories committee (ACTLC), Adopted at 3rd ACTLN, 2012 Jul 10.
ASEAN guideline on establishing ASEAN cosmetic method (ACM). Jakarta: ASEAN Secretariat; 2016.
Nikitakis JM, Rieger MM, Hewitt GT. CTFA cosmetic ingredient handbook. Washington, D.C.: Cosmetic, Toiletry, and Fragrance Association; 1988.
ASEAN consumer information handbook on cosmetic product. [Online]. 2014 [cited 2017 May 27]; [20 screens]. Available from: URL: https://www.asean.org/storage/images/Community/AEC/Sectoral/standarandconformance/Handbook%20web%20publishing.pdf.
ASEAN cosmetic documents (update September 2007). Bangkok: The Thai Cosmetic Manufacturers Association, 2008. Annex III Part 1, Annex VI Part 1.
พระราชบัญญัติเครื่องสำอำง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดชื่อและปริมาณของวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 162 ง (วันที่ 9 ตุลาคม 2551).
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (พ.ศ. 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 167 ง (วันที่ 22 มิถุนายน 2560).
ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
Baker CD. Statistical methods for collaborative analytical trials. [Online]. 1989 [cited 2017 May 27]; [3 screens]. Available from: URL: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1002/j.2050-0416.1989.tb04629.x.
Report reference number 10th meeting of ACTLC, Final. Summary report The tenth meeting of the ASEAN cosmetic testing laboratories committee (ACTLC). 2017 Nov 14-15; Bandung, Indonesia; 2017