การวิเคราะห์พหุหลักเกณฑ์สำหรับมาตรการการควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตรในผักและผลไม้

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

Vegetables, Fruits, Good Regulatory Practices, Multi-criteria analysis

บทคัดย่อ

       การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรการกฎหมายภายใต้ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อควบคุมความปลอดภัยของผักและผลไม้สดในประเทศ ตามแนวทางหลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ (Good Regulatory Practices: GRP) โดยมีขั้นตอนการศึกษา ได้แก่ กำหนดทางเลือกทางกฎหมายด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลคุณภาพและความปลอดภัยผักและผลไม้ทั้งในและต่างประเทศ จากข้อมูลทุติยภูมิ โดยการศึกษาเอกสารและข้อมูลปฐมภูมิโดยการประชุมกลุ่มเป้าหมาย และประเมินผลกระทบเชิงบวกจากทางเลือกกฎหมายที่กำหนดขึ้นด้วยวิธีวิเคราะห์แบบพหุหลักเกณฑ์ (Multi-criteria analysis) โดยใช้แบบประเมินผลกระทบจากมาตรการกฎหมายที่ประยุกต์จาก OECD Reference Checklist for Regulatory Decision-Making เพื่อตัดสินใจคัดเลือกมาตรการที่มีความสำคัญและมีประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วยการประเมินตัวชี้วัดของผลกระทบ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้บริโภค ผู้ประกอบการ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรการ โดยมีผู้ทำแบบประเมิน คือ เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ และผู้บริโภค รวม 20 คน ผลการประเมินพบว่าการกำหนดให้หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติทางการผลิตที่ดีของสถานที่คัด ตัดแต่ง และบรรจุผักและผลไม้สดเป็นมาตรฐานบังคับควบคู่กับการบังคับแสดงฉลาก และให้มีระบบตามสอบย้อนกลับ ณ สถานที่จำหน่ายได้คะแนนผลรวมของประสิทธิผลจากทุกตัวชี้วัดสูงที่สุด (210 คะแนน) จึงอาจเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการกำหนดเป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยผักและผลไม้สด

References

Diet, nutrition and the prevention of chronic disease: Report of a joint WHO/FAO expert consultation; 2002 Jan 28 – Feb 1. (WHO technical report series 916). Geneva: World Health Organization; 2003.

สถาพร โอภาสานนท์. การตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์ (2). ว บริหารธุรกิจ. 2556; 36(140): 5-9.

อภิรดี สรวิสูตร. การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์: เปรียบเทียบแนวคิดและวิธีการระหว่าง SAW AHP และ TOPSIS. ว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559; 8(2): 180-92.

เพลิน จำแนกพล. ทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อการควบคุมสถานที่ผลิตเครื่องสำอางควบคุม. ว อาหารและยา 2559; 23(2): 54-62.

ณัฐพล จันทร์แก้ว, สุเพชร จิรขจรกุล. การวิเคราะห์หาหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเสี่ยงต่อความแห้งแล้งระดับลุ่มน้ำด้วยระบบภูมิสารสนเทศ สำหรับการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชี. ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2552; 17(1): 31-9.

OECD Legal Instruments. Recommendation of the council on improving the quality of government regulation. [online]. 1995; [cited 2016 Jun 10]; [13 screens]. Available from: URL: https://legalinstruments.oecd.org/en/instruments/128.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนการเกษตร พ.ศ.2556 ทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.

กนกพร นาคชาตรี. พฤติกรรมการซื้อผักและผลไม้ปลอดสารพิษ จากร้านโกลเด้นเพลสของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์]. สาขาวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.

Buurma J, Saranark J. Supply-chain development for fresh fruits and vegetables in Thailand. In: Ruben R, Slingerland M, Nijhoff H, editors. Agro-food chains and networks for development. Netherlands: Springer; 2006. p. 119-127.

Zhao J, Zhou B. The effect of quality tracing system on safety of agricultural product. Economics Research International. vol. 2015, Article ID 895842. [online] 2015; [cited 2018 Feb 21]; [7 screens]. Available from: URL: https://www.hindawi.com/journals/ecri/2015/895842/.

Aung MM, Chang YS. Traceability in food supply chain: safety and quality perspective. Food Control 2014; 39: 172-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2018

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)