การศึกษาความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีน

ผู้แต่ง

  • วลัยลักษณ์ เมธาภัทร สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เอกณรงค์ อินทรชัย สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Stability study, Methamphetamine standard solution, Shelf-life

บทคัดย่อ

       เมทแอมเฟตามนี เป็นยาเสพติดที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ซึ่งแพร่ระบาดและมีความรุนแรงของปัญหาอย่างต่อเนื่อง มาตรการหนึ่งในการควบคุมดูแลปัญหายาเสพติด คือ การตรวจจับ และตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของกลาง เพื่อการดำเนินการตามกฎหมาย การตรวจพิสูจน์จำเป็นต้องใช้สารมาตรฐานซึ่งจัดหายาก และมีราคาแพง ดังนั้น เพื่อให้สามารถระบุถึงระยะเวลาการใช้งานของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีนที่เตรียมขึ้นใช้ในห้องปฏิบัติการ จึงศึกษาความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีนที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเมทแอมเฟตามีนในตัวอย่างของกลางยาเสพติด โดยการเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเมทแอมเฟตามีนในของกลางยาบ้าด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี ในระยะเวลา 128 วัน ระหว่างการใช้สารละลายมาตรฐานของเมทแอมเฟตามีนที่ความเข้มข้น ประมาณ 0.4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรในคลอโรฟอร์ม และเก็บไว้ที่ 2-8 องศาเซลเซียส กับการใช้สารละลายมาตรฐานที่เตรียมใหม่ทุกครั้งในการวิเคราะห์ จากการตรวจวิเคราะห์พบว่าความแตกต่างของร้อยละโดยน้ำหนักของปริมาณเมทแอมเฟตามีนในตัวอย่างของกลางจากการใช้สารละลายมาตรฐาน 2 แบบ อยู่ในช่วง 0.11 - 1.96 ดังนั้น จึงสามารถระบุได้ว่าสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีนที่เตรียมในคลอโรฟอร์มสามารถใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเมทแอมเฟตามีนได้ 128 วัน ทั้งนี้การศึกษาถึงความคงตัวของสารละลายมาตรฐานเมทแอมเฟตามีน และสารเสพติดชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ ถือว่าเป็นการสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการดำเนินการทางอรรถคดีให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด

References

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 23 ง. (ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2539).

ยาบ้า (Methamphetamine) [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 14 ม.ค. 2557]; [1 หน้า] เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.unodc.org/southeastasiaandpacific/en/event/drugs/methamphetamine.html

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจับ ยึด และตรวจพิสูจน์ยาเสพติด พ.ศ. 2537. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนพิเศษ 33 ง. (ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2537).

สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานประจำปี 2554 สำนักยาและวัตถุเสพติด. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

SIGMA-ALDRICH Company. M-009 cerilliant + Methamphetamie solution: SDS [online]. [8 screens]. Available from: URL: https://www.sigmaaldrich.com/catalog/product/cerillian/m009?lang=en&region=TH.

Morris JA. Long-Term stability studies of liquid samples from clandestine methamphetamine laboratories. In: Midwest Forensics Resource Center. Research and development program summary. Ames, IA: Ames Laboratory; 2007. p. 34-35.

Avramides EJ. Long-term stability of pure standards and stock standard solutions for the determination of pesticide residues using gas chromatography. J Chromatogr A 2005; 1080: 166-76.

Tirumalai PS, Shakleya DM, Gannett PM, Callery PS, Bland TM, Tracy TS. Conversion of methamphetamine to N-Methyl-Methamphetamine in formalin solutions. J Anal Toxicol 2005; 29: 48-53.

Croubels S, De Baere S, De Backer P. Practical approach for the stability testing of veterinary drugs in solutions and in biological matrices during storage. Anal Chim Acta 2003; 483: 419-27.

Coulter C, Garnier M, Tuyay J, Moore C. Storage and transportation studies of amphetamine, methamphetamine, benzoylecgonine, phencyclidine, morphine, oxycodone, and Δ9-tetrahydrocannabinol in the Quantisal TM collection device. SOFT, Olando, 2013.

Karinen R, Oiestad EL, Andresen W, Smith-Kielland A, Christophersen A. Comparison of the stability of stock solutions of drug of abuse and other drugs stored in a freezer, refrigerator, and at ambient temperature for up to one year. J Anal Toxicol 2011; 35: 583-90.

Hughes R, Hughes A, Levine B, Smith ML. Stability of phencyclidine and amphetamines in urine specimens. Clin Chem 1991; 37: 2141-2.

Clauwaert KM, Van Bocxlaer JF, De Leenheer AP. Stability study of the designer drugs “MDA, MDMA and MDEA” in water, serum, whole blood, and urine under various storage temperatures. Forensic Sci Int 2001; 124: 36-42.

เกษศิรินทร์พร กูลเกื้อ. การตรวจเมทแอมเฟตามีนและแอมเฟตามีนในพลาสมาโดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีชนิดเฟลมไอออไนเซชั่น [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.

Drugs Testing Book. Stability of drugs of abuse in biological fluids. [online]. [cited 2014 Jan 14]; [2 screens]. Available from: URL: https://drugstestingbook.com/stability-of-drugs-of-abuse-inbiological-fluids.

Jimenez C, de la Torre R, Ventura M, Segura J, Ventura R. Stability studies of amphetamine and ephedrine derivatives in urine. J Chromatogr B 2006; 843: 84-93.

Moffat AC, Osselton MD, Widdop B. Clark's analysis of drugs and poisons in pharmaceuticals, body fluids and postmortem material. 4th ed. London-Chicago: Pharmaceutical Press; 2011. p.1639-1644.

Nowatzke W, Woolf E. Best practice during bioanalytical method validation for the characterization of the assay reagents and the evaluation of analyte stability in assay standards, quality controls,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2017

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)