การจัดเตรียมพิษงูเห่ามาตรฐานในระดับประเทศ

ผู้แต่ง

  • ไพศาล พังจุนันท์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อัศจรรย์ อาเมน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ฐิตาภรณ์ ภูติภิณโยวัฒน์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ชลยุทธ นามบุตร สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
  • กนกวรรณ เทียมมาลา องค์การเภสัชกรรม

คำสำคัญ:

Cobra venom, Malayan pit viper venom, ussell’s viper venom, Standardization, Thailand

บทคัดย่อ

       ประเทศไทยมีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เซรุ่มแก้พิษงูจำนวนสองราย คือ องค์การเภสัชกรรม และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ซึ่งต่างก็ใช้พิษงูมาตรฐานที่ผลิตขึ้นเองในการควบคุมคุณภาพ เนื่องจากยังไม่มีพิษงูมาตรฐานที่จะใช้ในระดับประเทศ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบผลค่าความแรงระหว่างกันได้ สถาบันชีววัตถุในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ชีววัตถุที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ จึงได้ประสานความร่วมมือกับผู้ผลิตทั้งสองรายในการจัดทำพิษงูเห่ามาตรฐานในระดับประเทศ ผลที่ได้พบว่าพิษงูเห่าที่จะนำมาใช้นั้นเป็นสารมาตรฐานนั้นมีค่า LD50 เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10.57-15.67 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีปริมาณโปรตีนเท่ากับร้อยละ 70.8 เมื่อตรวจสอบเอกลักษณ์ด้วยวิธี Immunodiffusion พบว่าทำปฏิกิริยาเฉพาะกับเซรุ่มแก้พิษงูเห่า การแยกส่วนประกอบของโปรตีนด้วยวิธี SDS-PAGE พบว่าไม่มีความแตกต่างจากพิษงูเห่ารุ่นการผลิตก่อนหน้าที่สถาบันชีววัตถุใช้ในการควบคุมคุณภาพ พิษงูเห่ารุ่นการผลิตที่ CV 0142-S ที่จัดเตรียมขึ้นนี้ได้รับการประกาศให้เป็นสารมาตรฐานในระดับประเทศ ผลจากความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้การควบคุมคุณภาพเซรุ่มแก้พิษงูของประเทศไทยได้รับความน่าเชื่อถือในระดับสากล

References

ศุภฤกษ์ ไชยานุวัติวงษ์. งูพิษกัด (Snake bite). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 20 ก.พ. 2556]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.boe.moph.go.th/Annual/aesr2553/AESR53_Part1/B_Part1_53/4953_SnakeBite.pdf

World Health Organization. WHO guideline for the production control and regulation of snake antivenom immunoglobulins. Geneva, Switzerland: WHO; 2010. p. 8.

Thai pharmacopoeia Vol. 1 Part 1. Cobra Antivenin. Bangkok: Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 1987. p. 1606.

Calculations and statistical analysis of results. In: Manual of laboratory methods. Geneva: World Health Organization; 1997. p. 183-190.

Bradford MM. A rapid and sensitive method for the quantitation of microgram quantities of protein utilizing the principle of protein-dye binding. Anal Biochem 1976; 72: 248-54.

European Pharmacopoeia Volume 2. 7th ed. Strasbourg, France: European Department for the Quality of Medicines & Healthcare (EDQM), Council of Europe; 2010. p. 953-954, 201-202, 148, 46-51.

Fukuda T, Iwaki M, Hong SH, Oh HJ, Wei Z, Morokuma K, et al. Standardization of regional reference for mamushi (Gloydius blomhoffii) antivenom in Japan, Korea, and China. Jpn J Infect Dis 2006; 59: 20-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2017

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)